Manual
วัตถุประสงค์
คณะสังคมศาสตร์ ได้จัดทำวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (Journal of Social Sciences Mahamakut Buddhist University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนนิสิต นักศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย และอื่น ๆ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์แก่สถาบัน คณะ และสาธารณะต่อไป
ทั้งนี้ วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่านการรับทราบจากสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 12/2560 ระเบียบวาระที่ 4 (4.4) เรื่อง ที่เสนอเพื่อทราบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2560
ขอบเขต
วารสารสังคมศาสตร์ รับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์หนังสือ โดยขอบเขตเนื้อหาของวารสารสังคมศาสตร์ จะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ อาทิ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ระบบการพิจารณาบทความ
กองบรรณาธิการใช้ระบบการพิจารณาบทความแบบผู้ประเมินและผู้เขียนบทความต่างไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double-blind review) โดยบทความจากบุคลากรภายในใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกพิจารณา 2 ท่าน และบทความจากบุคคลภายนอกใช้ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/นอก 2 ท่านพิจารณา
กำหนดการเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับ ตามกำหนดเวลาดังนี้
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ Publication Ethics
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
ผู้นิพนธ์จะต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ในกรณีที่มีชื่อผู้นิพนธ์ร่วมนั้น ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัยหรือเขียนบทความวิชาการจริง บทความที่เสนอต้องยังไม่เคยได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่นมาก่อน และหากบทความที่เสนอได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสังคมศาสตร์ ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าจะไม่นำบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นอีก ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนวิจัย และหากเกิดความ เสียหายใด ๆ ขึ้น ผู้นิพนธ์บทความยินดีรับผิดชอบ ความเสียหายนั้น
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
บรรณาธิการวารสารทำหน้าที่พิจารณาความสอดคล้องกับสาขาสังคมศาสตร์และพิจารณาคุณภาพของวารสารเพื่ออนุมัติตีพิมพ์บทความในวารสารสังคมศาสตร์ฯ ต้องเก็บข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความเป็นความลับไม่ให้ทั้งสองฝ่ายทราบ หรือให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบในช่วงการประเมินบทความ ต้องคัดเลือกบทความที่ผ่านการประเมินโดยเลือกจากความใหม่ขององค์ความรู้ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ของวารสารสังคมศาสตร์ฯ ต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์มาแล้วในกรณีทีมีหลักฐานการตีพิมพ์มาก่อน หากหลักฐานยังไม่ชัดต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และกองบรรณาธิการ ต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) หากตรวจพบว่าบทความใดมีการคัดลอกผลงานวิชาการ บรรณาธิการต้องระงับการประเมิน และปฏิเสธการตีพิมพ์ พร้อมทำหนังสือชี้แจงแก่ผู้นิพนธ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Duties of Reviwers)
ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบทความเป็นความลับในช่วงระยะเวลาประเมิน ต้องประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากความสำคัญของเนื้อ คุณภาพของการวิเคราะห์ สังคงเคราะห์ และความเข้มข้นทางวิชาการ ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลมาเป็นเกณฑ์พิจารณาบทความ และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องระบุผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่สำคัญที่ผู้นิพนธ์มิได้อ้างอิงเอาไว้ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการปรับปรุงบทความให้สมบูรณ์มากขึ้น ทั้งนี้ หากพบว่ามีการคัดลอกผลงานวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องแจ้งบรรณาธิการให้ทราบ
หมายเหตุ: ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยฉบับนี้เป็นของผู้นิพนธ์ คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกเนื้อหาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในบทความต่าง ๆ แต่ขอความอนุเคราะห์อ้างอิงอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ