ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
Abstract
บทความนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในฐานะที่พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในท้องถิ่นและเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมายาวนาน จึงจำเป็นจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นกระบวนการในแนวทางใหม่ที่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชาตินิยม นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่สำคัญจะ “คืนประวัติศาสตร์” ให้แก่ประชาชน เพื่อให้รับรู้และตระหนักถึงสถานภาพของตัวเองในประวัติศาสตร์โดยรวมอีกด้วย การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบใหม่นั้น มุ่งศึกษากิจกรรมหรือประสบการณ์ทุก ๆ ด้านของสังคมใน “ท้องถิ่น” หนึ่ง ๆ โดยเน้นให้ความสำคัญที่ตัวประชาชนทุกระดับในฐานะผู้สร้างและเป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ร่วมกัน ทั้งนี้โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจ และตระหนักถึงความเป็นมาของชีวิตของประชาชนได้อย่างรอบด้านและลึกซึ้ง ความรู้เหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสำนึกประวัติศาสตร์ในชุมชนขึ้นมาใหม่หลังจากที่ถูกกระแสการพัฒนาในแนวทางเก่าทำลายให้ลืมเลือนหรือขาดความมั่นใจมานาน ให้กลับคืนมามีความเชื่อมั่นในตนเองและมีศักยภาพที่จะนำเอาภูมิปัญญาต่าง ๆ ของบรรพบุรุษมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันปัจจุบันได้มากขึ้น และอีกอย่างหนึ่งความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ดังกล่าว ยังเป็นพลังที่เข้มแข็ง ช่วยให้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถฟื้นฟูให้แก่สถาบันศาสนาและวัฒนธรรมที่จะเพิ่มพลังให้แก่ชาวบ้านในการที่จะสามารถเลือกแนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นของเขาเองได้หลายทาง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มีทางเลือกอันเหมาะสมสำหรับตัวเองมากขึ้น
คำสำคัญ: พระพุทธศาสนา; การอนุรักษ์; ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น;
Abstract
The objective of the academic article is to demonstrate the importance of Buddhism and the preservation of local history. As Buddhism was the spiritual center of the local people and had been part of the local history for a long time. Therefore, it was necessary to preserve the history as a process in a new way that was not the local nationalist history. In addition, the purpose of historical preservation was also to ‘restore’ the history to the people in order to have them perceive and recognize their status in the whole history. The new-style study of local history was aimed at the study of social activities or experiences in a locality, including local people at all levels as a creator and an owner of the history. According to the study, the people were given an opportunity to participate in the study process with the purpose to create the knowledge base from the local history. The study of local history made people understand and recognize the background of people’s life in a locality. The knowledge would restore the people’s awareness of history in the community after it was deteriorated and forgotten by the old wave of development. The people’s self-confidence, absent for a long time, would also be recovered until they were more potential to apply their ancestor’s wisdom to their daily life. On the other hand, their comprehension of local history remained a strong power to assist the people in localities to rehabilitate religious and cultural institutions, to empower the villagers capable to choose their own life, and to encourage the people with dignity of human beings to choose more appropriate choices for themselves.
Keywords: Buddhism; Preservation; Local History;
References
ธิดา สาระยา. (2529). ตำนานและตำนานประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2553). การศึกษาผลการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นด้วยกิจกรรมโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฎิรูประบบราชการ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2530). ข้อมูลใหม่ ข้อคิดใหม่เกี่ยวกับอีสาน. วารสารเมืองโบราณ. 13(4): 178-208; ตุลาคม-ธันวาคม.
________. (2551). พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
________. (2557). ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. วลัยลักษณ์ทรงศิริ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์.
สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนารากฐานท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 115-138; พฤษภาคม - สิงหาคม 2562.
สุเทพ สุนทรเภสัช. (2522). สังคมวิทยาของหมูบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พระนคร : โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัว, เล่มที่ 21, 2545.
เสรี พงศ์พิศ. (2536). คืนสู่รากเหง้าทางเลือกและทัศนะวิจารณ์ว่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เทียนวรรณ.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2545). วัฒนธรรมกับการพัฒนา : มิติของพลังที่สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.