กลวิธีทางภาษาในการประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์ เรื่อง “นางพญาอสรพิษ”

  • กิตติยา คุณารักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • พรพิมล เพ็งประภา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์เรื่องนางพญาอสรพิษของ ตรี อภิรุม โดยใช้กรอบแนวคิดด้านพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ แนวคิดสัจนิยมมหัศจรรย์ และแนวคิดการประกอบสร้างความหมาย เลือกศึกษาใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาษาเล่าความจริง 2) ภาษาสร้างความเหนือจริง 3) ภาษาสร้างอารมณ์ 4) ภาษาสื่อความก้าวร้าวรุนแรง 5) ภาษาสื่อความคิดทางการเมือง 6) ภาษาจากคำยืมบาลีสันสกฤต ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์เรื่องนางพญาอสรพิษของ ตรี อภิรุม มีการประกอบสร้างผ่านภาษา ดังนี้ 1) ภาษาเล่าความจริง เป็นการเสนอเนื้อหาเรื่องราวที่ใช้ภาษาแทรกเรื่องเล่าอิงประวัติศาสตร์ของยุคสมัย 2) ภาษาสร้างความเหนือจริง เป็นการสร้างความเหนือจริงเกี่ยวกับความลี้ลับของผู้คน รวมถึงเรื่องวิญญาณ โดยตั้งคำถามกับความตายและเรื่องเหนือธรรมชาติ 3) ภาษาสร้างอารมณ์ เป็นการสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามในความเชื่อของกฎแห่งกรรม 4) ภาษาสื่อความก้าวร้าวรุนแรง เป็นเรื่องเลียนแบบเหตุการณ์จริงในสังคมแล้วแทรกจินตนาการของชีวิตมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา 5) ภาษาสื่อความคิดทางการเมือง เป็นการนำเสนอในรูปการถกเถียงเกี่ยวกับปรัชญาการเมืองและเสนอในรูปการต่อสู้ทางการเมือง 6) ภาษาจากคำยืม เป็นการใช้ภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีที่เป็นศัพท์สูงที่ใช้สื่อความหมายด้านหลักธรรมทางพุทธศาสนา


คำสำคัญ: กลวิธีทางภาษา; การประกอบสร้างความหมาย; พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์; นวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์; นางพญาอสรพิษ;


Abstract

               The objective of the academic article was to study the linguistic strategies in the construction of the sacred space in Tri Aphirum’s magical realism novel Nang Phya Asoraphit (Queen Snake),” based upon the concepts of sacred space, magical realism, and meaning construction. Tri Aphirum was a pseudonym or a pen name of Thep Chumsai Na Ayutthaya, honoured and praised as one of Thailand’s national artists in the field of literary art. The sacred space was studied through six linguistic strategies, namely, 1) realistic narration, 2) surrealistic narration, 3) emotional narration, 4) narration on offense and violence, 5) narration on political thoughts, and 6) borrowings from Pali and Sanskrit. The study revealed that the sacred space in Tri Aphirum’s magical realistic novel Nang Phya Asoraphit was constructed through the following linguistic strategies: 1. The realism was periodically inserted and described through the historical narratives at that time. 2. The surrealism was proclaimed through people’s beliefs in enigmatic mysteries, including a soul, with some questions on death and supernatural things. 3. The emotional narration was aimed at encouraging the readers to go along with the fiction and believe in the law of action (Karma). The offense and violence were differently narrated by imitating the social events in reality and exactly expanding them through the writer’s imagination in human life. 5. The narration of political thoughts at that time was communicated in the formations of political philosophical discussion and political struggle. 6. Pali and Sanskrit words, regarded as the high-class alternatives, were borrowed to communicate Buddhist teachings.


Keywords: Linguistic Strategy; Meaning Construction; Sacred Space; Magical Realistic Novel; Nang Phya Asoraphit;

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กิตติยา คุณารักษ์. (2564). พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของตรี อภิรุม: ความหมายและการประกอบสร้าง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). สัจนิยมมหัศจรรย์ ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์ริสัน และวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.

ตรี อภิรุม. (2551). นางพญาอสรพิษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อุทยานความรู้.

ธีระพงษ์ มีไธสง. (2560). ผีกับพุทธการผสมผสานทางความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทนิล.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาคร.

นพวรรณ รองทอง. (2543). กำเนิดและพัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2557). ผีวิถีคน ความเชื่อและการพึ่งพาระหว่างคนกับผี. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์กากะเยีย.

บุญเหลือ โจมโน. (2556). ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แดเน็กซ์ อินเตอร์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2542). ภูเขาศักดิ์สิทธิ์กับความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
________. (2562). พระพุทธศาสนาและความเชื่อของสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยะพันธ์.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2554). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2561). นัยในวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
Published
2021-12-31
How to Cite
คุณารักษ์, กิตติยา; เพ็งประภา, พรพิมล. กลวิธีทางภาษาในการประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์ เรื่อง “นางพญาอสรพิษ”. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 201, dec. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1801>. Date accessed: 18 jan. 2025.