ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย (ชุมชนหนองผักก้าม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย) โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเลย (ชุมชนหนองผักก้าม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย) จำนวน 102 คน โดยใช้ข้อมูลที่เป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสรุปผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิธี ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย ในด้านหลักสูตร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (x̅) เท่ากับ 2.20 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40 และความพึงพอใจในด้านกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x̅) เท่ากับ 2.33 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60 และมีข้อแสอแนะให้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ; การพัฒนาคุณภาพชีวิต; โรงเรียนผู้สูงอายุเลย
ABSTRACT
The objective of the survey research was to study the satisfaction of the elderly with the model of activities for development of the elderly life quality in Loei province. The samples were 102 elderly students of Loei Elderly School, Nong Phak Kam Community, Kut Pong sub-district, Mueang Loei district, Loei province. The research instrument was the questionnaire; the statistics used for data analysis comprised of percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The research was summarized by the descriptive analysis.
The research findings were as follows: 1) In terms of the curriculum, the satisfaction of elderly students with the activity model for development of the elderly life quality in Loei Elderly School was found to be at a moderate level (x̅ = 2.20, S.D. = 0.40); in terms of the activities, their satisfaction was found to be at a moderate level (x̅ = 2.33, S.D. = 0.60). 2) The recommendation of elderly students was that given activities should be consistent with the elderly’s needs.
Keywords: Satisfaction; Quality of Life; Elderly School;
References
ประนอม โอทกานนท์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การปฏิบัติตนในชีวิต ประจำวันกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 1(4), 25-30.
มารศรี นุชแสงพลี. (2532). ปัจจัยที่มีอิทธิพลความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในชุมชนบ่อนไก่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สม.ม. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุพิน อังสุโรจน์. (2543). การวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12(2), 9-18
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ลลิลญา ลอยลม. (2545). การเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
วรรณี ชัชวาลทิพากร, มาลินี ชลานันท์, อรพิน ฐานกุลสวัสดิ์ และดารุณี ภูษณสุวรรณศรี. (2543).พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและจังหวัดชัยนาท.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 1(5), 4-20.
ศรีทับทิม รัตนโกศล. (2527). แนวคิดการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์. วารสารสังคมสงเคราะห์,7(1), 100-129.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมจิตต์ หนูเจริญกุล. (2537). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ:วี.เจ.พริ้นติ้ง.
สุรีย์พันธ์ บุญวิสุทธิ์ และคณะ. (2541). ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 21(3), 82 – 89.