การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

  • พระครูปลัดจักรพล สิริธโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • พิมพ์อร สดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • บุญช่วย ศิริเกษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำนวน 94 รูป/คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนรายวิชา การปฏิบัติกรรมฐาน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (1967, p. 608) และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 76 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษารู้จัก และ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษาต้องการพัฒนา สถิติที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษาต้องการพัฒนา ประกอบด้วย (1) ความมีวินัย (2) ความรับผิดชอบ (3) ความซื่อสัตย์ 4) ความอดทนอดกลั้น (5) ความมีเมตตา (6) ความเสียสละ และ (7) ความกตัญญูกตเวที 2) ระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 3.97, S.D. = 0.170) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ความซื่อสัตย์ (x̅ = 4.34, S.D. = 0.075) รองลงมาได้แก่ ความเสียสละ (x̅ = 4.27, S.D. = 0.094) ความอดทนอดกลั้น (x̅ = 3.99, S.D. = 0.055) ความกตัญญูกตเวที (x̅ = 3.86, S.D. = 0.157) ความมีเมตตา (x̅ = 3.85, S.D. = 0.236) ความมีวินัย ( = 3.74, S.D. = 0.143) และความรับผิดชอบ (x̅ = 3.71, S.D. = 0.254) 3) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 4.00, S.D. = 0.447) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในการเรียนการสอนในรายวิชา การปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 4.00, S.D. = 0.168) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 3.99, S.D. = 0.098) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมประจำปี 2563 อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 3.96, S.D. = 0.145)


 


Abstract

               The objectives of the research were to study the moral and ethical level of Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus students, and to study the students’ satisfaction with moral and ethical development of MBUSLC students. The population of the research was a total of 94 MBUSLC freshmen, enrolling in Meditation Practice during the first semester of the academic year 2563; 76 research samples were totally selected through Taro Yamane’s sampling method and the stratified random sampling. The instruments used for data collection were 1) the questionnaire on morality and ethics of MBUSLC freshmen, 2) the survey on remembered morality and ethics, and 3) the survey on morality and ethics required for development. The statistics used for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation.


               The findings of the research were as follows: 1) The morality and ethics, required for development by the MBUSLC freshmen, comprised of (1) orderliness, (2) responsibility, (3) honesty, 4) toleration, (5) loving-kindness, (6) sacrifice, and (7) gratitude. 2) The moral and ethical level of MBUSLC students was found to be overall at a high level (x̅ = 3.97, S.D. = 0.170). Separately considered in the descending order, honesty was found to be at a high level (x̅ = 4.34, S.D. = 0.075), followed by sacrifice (x̅ = 4.27, S.D. = 0.094), toleration (x̅ = 3.99, S.D. = 0.055), gratitude (x̅ = 3.86, S.D. = 0.157), loving-kindness (x̅ = 3.85, S.D. = 0.236), orderliness (x̅ = 3.74, S.D. = 0.143), and responsibility (x̅ = 3.71, S.D. = 0.254), respectively. 3) The satisfaction of MBUSLC students with moral and ethical development for students was found to be overall at a high level (x̅ = 4.00, S.D. = 0.447); the satisfaction of MBUSLC students with the Meditation Practice subject was found to be overall at a high level (x̅ = 4.00, S.D. = 0.168), the satisfaction of the students with weekly praying activities was found to be overall at a high level (x̅ = 3.99, S.D. = 0.098), and the satisfaction of the students with the moral and ethical development project B.E. 2563 was found to be overall at a high level (x̅ = 3.96, S.D. = 0.145).


 


Keywords: Development; Morality and Ethics; Student; Mahamakut Buddhist


                    University, Srilanchang Campus;

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). 8 คุณธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.

กัลยา ศรีปาน. (2542). ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบุญเลิศอนุสรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ

จิรภา คำทา และ สมบัติ วรินทรนุวัตร. (2559). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1962-1978.

ทองพูล ภูสิม ศักดิ์พงศ์ หอมหวน และสมบัติ ฤทธิเดช. (2554). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอังพึงประสงค์ 8 ประการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ว.มรม. 5(1). (มกราคม – เมษายน 2554)

พจนีย์ แพ่งศรีสาร. (2547). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. (การสอนสังคมศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พระครูใบฎีกาพงษ์พันธุ์ ปุญฺญวํโส (บุญสอน). (2553). ศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวัชระ สํวโร (กสิวัฒน์). (2558). การพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (2559). คู่มือนักศึกษา: หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2530). วิทยากรกับการปลูกฝังและสร้างเสริมค่านิยม. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา

RYT9.com. (2557). คสช. กำหนด 12 ค่านิยมหลักของคนไทย เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง. ข่าวทั่วไป. เผยแพร่เมื่อ 12 กรกฎาคม 2557. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.ryt9.com/s/govh/1949621

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row
Published
2021-12-31
How to Cite
สิริธโร, พระครูปลัดจักรพล; สดเอี่ยม, พิมพ์อร; ศิริเกษ, บุญช่วย. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 89, dec. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1798>. Date accessed: 18 jan. 2025.