แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

  • รวิภา ศรีวัตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุชาติ บางวิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุขุม พรมเมืองคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 (2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ (3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการดำเนินการ 3 ระยะ ในระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 308 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน และครูจำนวน 275 คน โดยการเปรียบเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Krejcie and Morgan) และทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ขั้นตอนที่1 การศึกษาพหุกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ และระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินอิงเกณฑ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.62, S.D. = 0.13) สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.92, S.D. = 0.08) และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการนิเทศและประเมินผลการสอนของครู (PNIModified= 0.58) 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน 3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.90, S.D. = 0.23)


ABSTRACT

               The purposes of the research were to (1) study current conditions, desirable conditions and necessary needs of the guidelines on development of instructional leadership of the 21st century administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 2, (2) to develop the guidelines on development of instructional leadership of the 21st century administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 2, and (3) to assess the guidelines on development of instructional leadership of 21st century administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 2. The research was conducted into three phrases. The first phrase was on the study of current conditions, desirable conditions, and necessary needs. The 308 samples of the research were 33 school administrators and 275 teachers, selected by Krejcie and Morgan’s table and the stratified random sampling. The research instrument used for data collection was the questionnaire with reliability of 0.81; the statistics used for data analysis comprised of frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the priority needs index (PNI). The second phrase was on the development of the guidelines on development of instructional leadership of the 21st century administrators, consisting of two steps: the first step was on the multi-case study, in which the instrument used for data collection was the semi-structured interview; the second step was on the focus group discussion, by which the instrument used for data collection was the focus group note, and the data analysis was conducted by the descriptive statistics. The third phrase was on the assessment of the guidelines on development of instructional leadership of the 21st century administrators, in which the instrument was the criterian-referenced evaluation, and the statistics used for data analysis were arithmetic mean and standard deviation.   


               The research results were as follows: 1) The current condition was found to be overall at a high level (x̅ = 3.62, S.D. = 0.13), the desirable was found to be overall at the highest level (x̅ = 4.92, S.D.= 0.08), and the first priority needs index comprised of the teaching supervision and the teaching assessment (PNIModified = 0.58).                2)The guidelines on development of instructional leadership of the 21st century administrators consisted of five factors. 3) The assessment of the guidelines on development of instructional leadership of the 21st century administrators was found to be overall at the highest level (x̅ = 4.90, S.D. = 0.23).

References

ณัฐวุฒิ จันทร์โสภา. (2558). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิศวะ ผลกอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2562, 27 ธันวาคม). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เลขที่ 1/2563.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (2560, มีนาคม). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. อันดับที่ 10/2560.

อุไรวรรณ ศรีศักดิ์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Published
2021-12-31
How to Cite
ศรีวัตร, รวิภา; บางวิเศษ, สุชาติ; พรมเมืองคุณ, สุขุม. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 29, dec. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1794>. Date accessed: 23 nov. 2024.