การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยสะดวกและนวัตกรรม Audiobook เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนพิการและคนด้อยโอกาสในสังคม

  • แสงเพชร เจริญราษฎร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประพันธ์ นึกกระโทก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ศิริพร หมั่นงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุชาติ พิมพ์พันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการให้บริการนวัตกรรม Audiobook และพัฒนานวัตกรรม Audiobook เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนพิการทางสายตาและคนด้อยโอกาสในสังคม ในหน่วยสนับสนุนนักศึกษาเรียนร่วมพิการในมหาวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาพิเศษ และหน่วยบริการ DSS โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mix-method) การศึกษาสภาพปัจจุบันการให้บริการนวัตกรรม Audiobook ใช้การศึกษา 2 วิธี คือ 1) การศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยผู้ให้บริการ Audiobook จำนวน 9 ราย ผู้รับบริการ Audiobook จำนวน 152 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจำนวน 1 แหล่ง คือ หน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยสะดวกและนวัตกรรม Audiobook ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้นวัตกรรมที่สามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้ผู้ที่ด้อยโอกาสที่ยากในการเข้าถึงการอ่านตัวหนังสือปกติได้ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการให้บริการยังมีความเหลี่อมล้ำของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ผู้ให้บริการและหนังสือที่ให้บริการเล่มใหม่ ๆ ยังมีจำนวนน้อย ผลการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำในทุกประเด็น แต่สิ่งที่มีส่วนดีคือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเปิดโอกาสให้บริการหรือรับบริการได้รวดเร็วขึ้น 2) นวัตกรรม Audiobook ที่ได้สร้างขี้นจากผลการวิจัยสามารถใช้ผ่านอุปกรณ์พื้นฐานคือ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ทั่วไป ผลการประเมินนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน อยู่ในระดับดีมากในภาพรวมทุกประเด็น


Abstract

            The purposes of the research were to study the current condition of innovative audiobook service provision and to develop the audiobook innovation to reduce inequality of the vision disabled and the underprivileged in the Disabled Student Services Thammasat University (DSS TU). The research was conducted through the mixed-methods design. The current condition of innovative audiobook service provision was studied through two methods. 1) The quantitative approach was used to collect the data from nine audiobook service providers and 152 audiobook customers with the rating scale questionnaire. The data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean and standard deviation. 2) The qualitative approach was used to study one best practice resource, which was DSS TU, and the data were collected by the in-depth interview of executives and analyzed by the content analysis. The development of technological media, facilities and innovations of audiobooks was engaged in the research and development (R&D) methodology to get an innovation that was capable to reduce a gap or an inequality for the vision disabled or the underprivileged to read the regular letters. The research findings were as follows: 1) The current condition of audiobook services was still found full of inequality for the disabled and underprivileged to access information; there were only a few audiobook service providers and new audiobooks. As a result of the research, each of them was found to be at a low level of mean scores. However, it was good that the up-to-date technology granted an opportunity to provide or receive faster services. 2) The innovative audiobooks, based upon the research result, were found to access via smart phones and a wide range of personal computers. The innovative assessment by nine experts was found to be overall at the highest level.

References

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ 2552. (2552, 29 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 77ง. 2-5.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. 1-3.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546. (2564,1 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 94 ก. 1-19.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 (2550, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 61 ก. 8-23.

ไทยรัฐ. (2564). กระทรวงศึกษาธิการไทยเตรียมความพร้อม จัด 5 รูปแบบการเรียนการสอนยุค โควิด-19 ป่วนเมือง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิ.ย. 2564. แหล่งสืบค้น https://www. thairath.co.th/news/local/2100016

ไทยโพสต์. (2561). รัฐบาลแจกแหลกให้เงินคนแก่ถือบัตรสวัสดิการเดือนละพันบาท. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิ.ย. 2564. แหล่งสืบค้น https://www.thaipost.net/main/detail/22242

นฤมล อินทิรักษ์ (2560).การพัฒนาหนังสือเสียงสองภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังสำหรับเด็กที่มี ความบกพร่องทางการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 21(2). (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562). 110-118.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (2560, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 1-80.

สุรัญจิต วรรณนวล. (2549). การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนนทบุรี.

Andre Rodrigues. (2015). Getting Smartphones to Talk Back: Understanding the Smartphone Adoption Process of Blind use. Proceedings of the 17th International Acm Sigaccess Conference on Computers & Accessibility. On-line. Retrieved on June 25, 2021 from https://qrgo.page.link/8RPJK

Jeff Whittingham. (2012). Use of Audiobook in School Library and Positive Effect of Struggling Readers, Participation in Library Sponsored Audiobook Club. School Library Research Volume 16. On-line. Retrieved on June 25, 2021 from https://qrgo.page.link/HCybP
Published
2021-12-31
How to Cite
เจริญราษฎร์, แสงเพชร et al. การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยสะดวกและนวัตกรรม Audiobook เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนพิการและคนด้อยโอกาสในสังคม. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 1, dec. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1791>. Date accessed: 23 nov. 2024.