ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา โดยการบูรณาการใช้ TPACK Model ของนักศึกษาสาขาการสอนสังคมศึกษา

  • กรรณิกา ไวโสภา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยการบูรณาการใช้ TPACK Model ของนักศึกษาสาขาการสอนสังคมศึกษาตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยการบูรณาการใช้ TPACK Model ก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยการบูรณาการใช้ TPACK Model ของนักศึกษาสาขาการสอนสังคมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 26 คน


            ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยการบูรณาการใช้ TPACK Model ของนักศึกษาครูสาขาการสอนสังคมศึกษา ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 91.73/ 87.02 (2) นักศึกษาสาขาการสอนสังคมมีผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยการบูรณาการใช้ TPACK Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคม มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยการบูรณาการใช้ TPACK Model อยู่ในระดับมาก


 


               The purposes of the research article were (1) to study the learning outcome of Teaching Social Studies students in Educational Innovation and Information Technology (ED1005) by integrating TPACK model with the achievement criterion at 80/80, (2) to compare the students’ scores between the pretest and the posttest in Educational Innovation and Information Technology (ED1005) before and after integrating TPACK model, and (3) to study the students’ opinions on learning Educational Innovation and Information Technology (ED1005) by integrating TPACK model. The samples used for data collection were twenty-six first-year students, majoring Teaching Social Studies, Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus during the second semester of the academic year 2019.


               The results of the research were as follows: 1) The learning outcome of Teaching Social Studies students in Educational Innovation and Information Technology (ED1005) by integrating TPACK model with the achievement criterion was found equal to 91.73/87.02, which hypothetically met with the given criteria of 80/80. 2) The students’ posttest scores after learning by TPACK model integration were higher than their pretest ones at a statistically significant level of 0.05. 3) The students’ opinions on learning activities by TPACK model integration were found to be overall at a good level.

References

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) (2560). คณะศึกษาศาสตร์/ภาควิชาวิชาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Mishra,P., & Koehler,M. J. (2006). Technological Pedagogical Content Knowledge: A Framework for Teacher Knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง, (มปป.) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (IT for Specific Purpose) ในแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) กระบวนวิชา ไอทีเพื่อการศึกษา (IT for Education), โครงการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) กระบวนวิชา ไอทีเพื่อการศึกษา (IT for Education), คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลิลลา อดุลยศาสน์ . (2561). ผลของการพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Swan Kathy, & Hofer Mark. (2011). In Search of Technological Pedagogical Content Knowledge: Teacher’ Initial Foray into Podcasting in Economics. International Society for Techology in Education, 44(1), 75-98.

Yildiz, Avni; Baltaci, Serdal. (2017). Reflections from the Lesson Study for the Development of Techno-Pedagogical Competencies in Teaching Fractal Geometry. European Journal of Educational Research, 6 (1),41-50.

Bos, B. (2011). Professional development for elementary teachers using TPACK. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 11(2), 167-183.
Published
2021-06-30
How to Cite
ไวโสภา, กรรณิกา. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา โดยการบูรณาการใช้ TPACK Model ของนักศึกษาสาขาการสอนสังคมศึกษา. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 59, june 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1471>. Date accessed: 29 apr. 2024.