การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

  • ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

                    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ และอายุ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ได้ใช้สูตรในการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที t - test และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) F - test  หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe s Method)  โดยมีค่านัยสำคัญที่  0.05


          ผลการวิจัยพบว่า


1) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 2 ด้านการออกเสียงประชามติ รองลงมาคือ ข้อที่ 1 ด้านการเลือกตั้ง ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อที่ 3 ด้านการตรวจสอบ


2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05  


3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มากที่สุดคือ ควรมีการจัดประชุมชี้แจงข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งแก่ประชาชนให้มากกว่าเดิม รองลงมาได้แก่ ควรให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อความโปร่งใส และน้อยที่สุด ควรจัดให้มีหน่วยงานสำหรับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านเครือข่ายประชาคมอย่างต่อเนื่อง


The objectives of the research article were (1) to study political participation of people in Chaiyapruk Sub-district Administrative Organization (SAO), Mueang Loei district, Loei province, (2) to compare political participation of people, classified by gender, age and educational level, in Chaiyapruk SAO, Mueang Loei district, Loei province, and (3) to study recommendations on political participation of people in Chaiyapruk SAO, Mueang Loei district, Loei province. The population of the research was a total of people dwelling in Chaiyapruk SAO, Mueang Loei district, Loei province; 370 samples were selected through Taro Yamane’s sampling formula. The instrument used for data collection was the rating scale questionnaire; the statistics used for data analysis comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation, the t-test, and one-way analysis of variance (ANOVA). In case the paired differences were found, the Scheffé’s method was utilized. 


               The results were found as follows:


                    1) The politcal participation of people dwelling in the area of Chaiyapruk SAO, Mueang Loei district, Loei province, was found to be overall at a high level. Separately considered in the descending order of mean scores, the people’s referendum was found to be at the highest level, followed by the people’s voting, and the people’s check was found to be at the lowest level.


            2) The comparison of political participation of the people with different gender was found not to be different, but the comparison of the people with different age and educational level was found to be different at a statistically significant level of 0.05.  


             3)   The recommendations for political participation of people in the area of Chaiyapruk SAO, Mueang Loei district, Loei province were as follows: (1) More meetings should be organized to publish the people election news and information. (2) People should be allowed to participate into checking and examining election commission’s operation for transparency. (3) The public relations agency should be provided to publicize the social network continuously.

References

กันต์ญาณัฐ อัษฎาวรพัฒน์. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณรงค์ พึ่งพานิช และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดตาก. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562, (170 – 183).

บรรเจิด อนุเวช. (2543). การมีส่วนร่วมทางการเมืองและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล อบต.: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอวังน้อยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง,.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

วัชรา ไชยสาร. (2545). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับการเมืองภาคประชาชน. รัฐสภาสาร, 53(5), 44-100.
Published
2021-06-30
How to Cite
ชาวโพธิ์, ธนวัฒน์. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 73, june 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1469>. Date accessed: 29 apr. 2024.