การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

  • ประสงค์ หัสรินทร์ มหาวิจัยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 (2) เปรียบเทียบตามความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2  จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  คือ ผู้บริหาร และครูผู้สอน ในโรงเรียนเขตอำเภอเอราวัณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2 จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 โดยใช้สถิติ  t-test  และ F-test  


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน และงานทะเบียนนักเรียน ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง


            2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่  และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงานของบุคลากรทางการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน


 


               The objectives of the research article were (1) to study the academic administration of schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Erawan district, Loei province, and (2) to compare the opinions of personnel on the academic administration of the schools, classified by their position and work experience. The population of the research was a total of school executives and teachers under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Na Duang district, Loei province; 392 samples were selected through the sampling method. The instrument used for data collection was a rating scale questionnaire; the statistics used for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation, whereas the statistics used for the hypothetical test were the t-test and one way analysis of variance (ANOVA).


               The findings of the research were as follows:


               1) The opinions of personnel on the academic administration of schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Erawan district, Loei province, was found to be overall at a high level. Separately considered in the descending order, evaluation of academic administration was found to be at the highest level (with a high level of mean scores), followed by learning administration, and measurement and evaluation, and student registration were found to be at the lowest level (with a moderate level of mean scores).


               2) The comparison of personnel opinions on the academic administration of schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Erawan district, Loei province, classified by their position and work experience, was found that the opinions of personnel with different positions and work experiences were found not to be different.

References

กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). สถิติเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้บ้านใหม่.

ญาณิศา ทองพูล. (2555). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ถาวร กันเมล์. (2542). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วินิจ เกตุขำ. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Published
2021-06-28
How to Cite
หัสรินทร์, ประสงค์. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 35, june 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1466>. Date accessed: 29 apr. 2024.