ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

  • กันตพงษ์ จุลราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Abstract

            บทความวิจัยเรื่อง ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคม ภาคเรียนที่ 3/2562 (ภาคฤดูร้อน) จำนวน 45 คน สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


            ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเข้าใจในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในหมวดกายานุปัสสนา หมวดเวทนานุปัสสนา หมวดจิตตานุปัสสนา และหมวดธัมมานุปัสสนา โดยภาพรวมของความเข้าใจในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อยู่ในระดับดี สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ หมวดเวทนานุปัสสนา หมวดกายานุปัสสนา หมวดจิตตานุปัสสนา และหมวดธัมมานุปัสสนา ตามลำดับ


Abstract 

                The research, titled “A study of student’s perception for the foundations of mindfulness at Loei Rajabhat university”, was conducted by the quantitative research methodology. The purpose of the research was to study the perception level of students on the Buddhist Four Foundations of Mindfulness (Satipaṭṭhāna in Pali) at Loei Rajabhat University. The samples were forty-five students, enrolling for Buddhism for Life and Social Development in the third semester of the academic year 2019 (Summer Course) at Loei Rajabhat university. The statistics used for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation.


               The results of the research were found that the perception level of students on the Buddhist Foundations of Mindfulness (Satipaṭṭhāna): Kāyānupassanā, Vedanānupasanā, Cittānupasanā and Dhammānupasanā, at Loei Rajabhat University was found to be overall at a good level. In addition, they could be arranged in descending order as follows: Vedanānupasanā, Kāyānupassanā, Cittānupasanā and  Dhammānupasanā, respectively.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.

พระเจริญ อคฺควิริโย (เกษมวิริยะเลิศ). (2555). ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐานของอุบาสก-อุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชา วิปัสสนาภาวนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

________. (2553). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
Published
2021-06-28
How to Cite
จุลราช, กันตพงษ์. ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 13, june 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1464>. Date accessed: 29 apr. 2024.