วัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น

  • ไพฑูรย์ มาเมือง

Abstract

    งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 247,438 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของ Taro Yamane ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า


1) ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีวัฒนธรรมประชาธิปไตยโดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบผสมการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือวัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมไพร่ฟ้า  อยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม  ตามลำดับ


2) ผลการเปรียบเทียบวัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกัน มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยโดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


    3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีความถี่มากที่สุด คือ ในการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยควรปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความมีวินัยให้ประชาชนตระหนังถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองในฐานะพลเมือง โดยเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว รองลงมาคือ การส่งเสริมความรู้เรื่องสิทธิและหน้าที่ของประชาชนตลอดจนความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง และความถี่น้อยที่สุดคือ การเสริมสร้างจิตสำนึกของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้มีความรู้รักสามัคคีและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน


      The objectives of this thesis paper were as follows : 1) To study democratic culture of people in constituency No.4, Khon Kaen province. 2) To compare democratic culture of people in constituency No.4, Khon Kaen province classified by sex, age, and level of education. 3) To study of the suggestions democratic culture of people in constituency No.4, Khon Kaen province. The populations were people in constituency No.4 equal 247,438  simples random sampling equal 400 by Taro method. Data were analyzed by using the frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.


The results of this research were found as follows:


          Democratic Culture of people in constituency No.4, Khon Kaen province. In the overall aspect was at highest level. Taking a single aspect in to account, the most mean was parochial participant political culture at the highest level. Next mean was  parochial-subject political culture at the highest level and subject-participant political culture respectively. 


          The     comparative democratic culture of people in constituency No.4, Khon Kaen province, classified according differences over their sex were proven to be the null hypothesis in overall aspect and classified according differences over their agess and level of education were proven to be the hypothesis in overall aspect


          The     suggestions democratic culture of people in constituency No.4, Khon Kaen province were that should be disciplined for the film portion of the responsibility as citizens of their own. Starting from the second family is to promote knowledge of the rights and duties of citizens, as well as the importance of democratic government correctly. And frequency is minimal. Enhancing the awareness of politicians in a democracy to have a unity and a good example to the people.

Published
2015-12-31
How to Cite
มาเมือง, ไพฑูรย์. วัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่น. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 1, n. 2, p. 23, dec. 2015. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1323>. Date accessed: 28 apr. 2024.