ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องพระยาแถน พญานาค และการถือผีของประชาชนสองฝั่งโขง: กรณีศึกษาจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์

  • พระครูภัทรสิริวุฒิ ภัทร
  • พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร
  • พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน
  • พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน
  • พระวันชัย ภูริทตฺโต
  • เจษฎา มูลยาพอ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพระยาแถน พญานาค และผีในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพระยาแถน พญานาค และผีของชาวพุทธจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องพระยาแถน พญานาค และผีของประชาชนสองฝั่งโขง : กรณีศึกษาจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความเชื่อเรื่องพระยาแถน เป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลที่สุด เพราะแถนคือพระอินทร์ หรือเทพสวรรค์ที่มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของมนุษย์ สามารถเนรมิตหรือทำลายอะไรก็ได้ และแถนก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐ โดยมีกษัตริย์ซึ่งเป็นโอรสของแถนเป็นตัวแทนของอำนาจนั้น เช่นการสร้างความเชื่อเกี่ยวกับแถนขึ้นมา เป็นการยอมรับกษัตริย์จากชนทุกชั้นเพราะความเชื่อเรื่องผีเป็นความเชื่อที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของประชาชนอย่างมาก ผู้ปกครองจึงใช้ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นเครื่องมือในการกำหนดและควบคุมประชาชนในสังคม

  2. ความเชื่อเรื่องพญานาค ความเชื่อของกลุ่มชนที่เป็นผู้ตั้งรกรากและสร้างอารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขงแล้วพญานาคปรากฏในตำนานและพงศาวดารต่าง ๆ ในอุษาคเนย์เช่นตำนาน
    อุรังคธาตุ ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา พงศาวดารมอญพม่า เป็นต้น แต่สำหรับกลุ่มชนในวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงพญานาคเป็นงูใหญ่ที่มีอิทธิฤทธิ์และมีตัวตนจริงๆซึ่งเชื่อว่าอาศัยอยู่ที่ลุ่มแม่น้าต่างๆในเมืองบาดาลและมีช่องทางหรือรู สามารถเข้าสู่เมืองของพญานาคได้คติความเชื่อของศาสนาพุทธได้มีการกล่าวถึงพญานาคว่าเป็นผู้ปกป้องรักษาพุทธศาสนาอยู่แล้วดังนั้นกลุ่มชนในวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงจึงสร้างตำนานของกลุ่มชนให้สอดคล้องกับตำนานข้างต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากข้อความในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม)ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคนี้ได้ผ่านช่วงยุคสมัยในประวัติศาสตร์ต่างๆมาจนถึงปัจจุบันโดยถูกรักษาเอาไว้ด้วยระบบสัญลักษณ์ซึ่งเป็นการทำงานของระบบความคิดในใจมนุษย์ที่เป็นระบบเชิงนามธรรมที่ลึกซึ้งและระบบสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงโครงสร้างในจิตใจมนุษย์ได้ดีที่สุดคือ “ระบบภาษา” และ “ศาสนา” ซึ่งทั้งสองระบบรวมกันอยู่ในนิทานปรัมปรามากที่สุดจะเห็นได้ชัดจากพิธีกรรมประเพณีและตำนานต่างๆที่ปรากฏอยู่อย่างมากมายและงานศิลปกรรมต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นก็ดูเสมือนว่ามีสัญลักษณ์แห่งพญานาคเป็นแกนกลางของความหมายเป็นเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังภาพที่ปรากฏนั้นด้วย

  3. ความเชื่อเรื่องผี กรรม บุญบาป นรก และสวรรค์ นั้นชาวพุทธในอนุภูมิภาคชาวพุทธสองฝั่งโขง มีคติธรรมความเชื่อในเรื่องของบุญบารมีและกรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้มีฐานะทางสังคมเป็นผู้มีบุญบารมีมาก่อน ซึ่งเกิดจากการประพฤติปฏิบัติธรรมสั่งสมคุณงามความดี กรรมดีจึงดลบันดาลให้ได้เกิดในที่ดีๆ ผู้ที่มีฐานะที่ต่ำกว่าต้องยอมรับและเคารพคนที่เหนือกว่าเพราะมีบุญบารมีที่มากกว่า ผู้ที่เหนือกว่าต้องให้การอุปถัมภ์ผู้ที่ด้อยกว่า โดยที่ผู้ที่ได้รับการอุถัมภ์ต้องมีความกตัญญูรู้คุณ ความจงรักภักดีต่อผู้ให้การอุปถัมภ์ การช่วยเหลืออุปถัมภ์ผู้อื่นก็ถือว่าได้บุญเป็นการตอบแทนเช่นกันโดยเฉพาะการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาการอุทิศทรัพย์สมบัติข้อยทาสให้เป็นข้ารับใช้ในพระพุทธศาสนาเพื่อหวังบุญบารมี

    This research aims at the study 1) study the concepts of the doctrine of the Lord's elves dragon and ghost in Buddhism, 2) to study the concept of the traditions about belief prince elves serpent and the spirit of Buddhist Nong Khai and Vientiane. 3) to compare beliefs about the dragon prince elves and ghosts of the two banks of the Mekong: a case study of Nong Khai and c. Luang in Vientiane


    The research found that:


    1. Belief in Elves ruler Is believed to have the most influence. The elves are Indra Or heavenly deity who is responsible for the welfare of mankind. Can make or break anything Elves, and it is also the symbol of state power. The king is the son of elves represent power. Creating such a belief about the elves.

    2. Belief in Naga The faith of the people who settled and built a civilization Mekong serpent then appeared in myth and history in Southeast Asia, such as the legendary warm nest elements chronicles chronicles of Cambodia, Myanmar, Mon, etc. But for a nation. culture in the greater Mekong serpent Python is a miracle and a real identity, which is believed to live in lowland rivers and groundwater in the city or channel. hole Access to the City of Naga, a mythical Buddhist said to the serpent as a protecting Buddhism, so the folk culture in the Mekong region, thus creating the myth of the nation, according to the legend above. clearly the message from the legendary warm nest elements. (Legend Tatupnm) beliefs about this serpent through the various eras in history today by being maintained by the system, which is a function of the mind that man is fundamentally abstract. and a symbol that expresses the structure of the human mind is best "language" and "religion," which both systems combined, in many mythologies.

    3. spiritualism karmic merit, sin, hell and heaven in Buddhist Buddhist region on both sides of the Mekong. There epitomizes the notion of charisma and action by the Buddhist king or a social position as a halo before. This is due to the practice gained notoriety virtues. The good karma aspire to be born in a day. Those with a lower need to recognize and respect the superior because it has a halo over. The greater the need to foster the inferior. The people are warm Waithayopathum be grateful. Loyalty to a patron. To help foster others were deemed to have merit consideration, especially fostering religious devotion the wealth and slaves as servants in Buddhism, so hopefully halo.


Published
2021-02-26
How to Cite
ภัทร, พระครูภัทรสิริวุฒิ et al. ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องพระยาแถน พญานาค และการถือผีของประชาชนสองฝั่งโขง: กรณีศึกษาจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 1, n. 2, p. 1, feb. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1320>. Date accessed: 26 apr. 2024.