นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นในมุมมองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

  • วิไลวรรณ สิงห์คำ

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาท้องถิ่น ตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
2) เพื่อเปรียบเทียบนโยบายการพัฒนาท้องถิ่น ตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา
และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาท้องถิ่น ตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยเชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี
เชฟเฟ่


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นตามมุมมองของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสังคม อยู่ในระดับน้อย และน้อยที่สุด คือด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ


            2) ผลการเปรียบเทียบนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน พบว่า มีนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


          3) ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นตามมุมมองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ทั้ง 3 ด้าน โดยด้านที่ต้องมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขคือปัญหามลพิษทางอากาศ จากการเผาอ้อย ปัญหาเกี่ยวกับการกำจัดขยะในพื้นที่ และปัญหาเกี่ยวกับดินเสื่อมคุณภาพจากการใช้สารเคมี รองลงมาคือ ด้านสังคม โดยปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขคือ การแก้ปัญหาความยากจน ปัญหาเรื่องสุขภาพ และปัญหายาเสพติด ด้านเศรษฐกิจ โดยปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขคือ การแก้ไขปัญหาน้ำประปาในช่วงฤดูแล้ง การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างทันท่วงที และการซ่อมแซมถนนเพื่อการเกษตร


            The objectives of the research project were (1) to study local development policies upon views of people in the area of Non Muang Sub-district Administrative Organization, Sribunrueang district, Nongbua Lamphu province, (2) to compare local development policies upon views of those people, classified by gender, age, educational level and average monthly income, and (3) to study recommendations on local development policies upon views of those people. This research project was engaged in the quantitative methodology. The research population was a total of people in the area of Non Muang Sub-district Administrative Organization, Sribunrueang district, Nongbua Lamphu province, and 400 samples were selected. The research instrument was a questionnaire with the entire reliability of .90. The statistics used for data analysis were comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA and Scheffé’s method to test paired mean differences.


            The research findings were as follows:


            1) The policies of local development upon the views of people in the area of Non Muang Sub-district Administrative Organization, Sribunrueang district, Nongbua Lamphu province, were found to be overall at a moderate level. Considered in each aspect, the economic aspect was found to be at a high level, followed by the social aspect at a low level; the environmental aspect (at a low level) was found to be at the lowest level, respectively.


            2) The comparison of the policies of local development upon the views of those people with different gender, age, educational level and average monthly income, was found to be different at a statistically significant level of .05. This was accepted in accordance with the hypothesis of the research project.


            3) The study of recommendations on the policies of local development upon the views of those people was found that among those three aspects, the environmental aspect required a certain policy to solve such problems as air pollution from sugarcane field burning, rubbish disposal in the area, and soil deterioration from the chemical usage, followed by the social aspect with such problems to be solved as poverty, health, and drugs, and the economic aspect with such problems to be solved as solution for lack of water supply in drought, prompt assistance during a disaster, and road repair and maintenance for agriculture.

References

ณภัทสุดา เปรมใจ. (2556) . ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหาร ส่วนตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ปิยวรรณ ศรีธร.(2556).การบริหารงานของขององค์การบริหารส่วนตำบลภูห่าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พเยาว์ วรนาม. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ภาสิตา กล้าทองเพียร. (2555). ความต้องการที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Published
2017-12-31
How to Cite
สิงห์คำ, วิไลวรรณ. นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นในมุมมองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 93-110, dec. 2017. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1315>. Date accessed: 29 apr. 2024.