การบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5

  • สมศักดิ์ พรหมเมตตา
  • สังวาลย์ เพียยุระ
  • พระครูสโมธานเขตคณารักษ์ คณารักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 426 คน ตัวแปรต้น ได้แก่ ตำแหน่ง ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ตัวแปรตาม ได้แก่ การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนบุคคล (2) การจัดบุคลากรเข้างาน (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การบำรุงรักษาบุคลากร (5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่าที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว, การเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ของผู้บริหารและครูผู้สอนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน, ด้านการวางแผนกำลังบุคคล, ด้านการพัฒนาบุคลากร, ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการบำรุงรักษาบุคลากร ตามลำดับ

  2. การเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ของผู้บริหารและครูผู้สอน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษามีความคิดเห็นการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 แตกต่างกัน แต่ประสบการณ์ทำงานมีความคิดเห็นการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05

The objectives of this study were (1) to study personnel management based on the four Bramaviharas, (2) to compare personnel management under the four Bramaviharas being divided as position, school size and work experience. The sampling group was 426 administrators and teachers of primary education schools in basic schools under the primary educational Nakhonratchasima service area office 5. The independent variables were position, school size and work experience. The dependent variables were the personnel management under the four Brahmaviharas, being divided into 5 aspects; (1) personnel plan, (2) managing the personnel into work, (3) developing the personnel (4) maintaining the personnel and (5) measuring personnel works. The instrument used for collecting the data was the questionnaire of personnel management under the four Brahmaviharas. The statistics used for analysing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One-Way ANOVA. The Comparison in pair was made by the way of Scheffe and the content analysis.


 


The result indicated that:


  1. Administrators’ and teachers’ opinions of the personnel management under the four Brahmaviharas of basic schools under the primary educational Nakhonratchasima service area office 5, in general, was at the high level. They are put from high to low as the following managing the personnel into work, man power plan, personnel development. Meauning personnel work and maintaining the personnel.

2. On comparing the personnel management under four Brahmaviharas of basic schools under the primary educational Nakhonratchasima service area office 5, it was found that the administrators and teachers whose position and work experience were different would have the different opinions, but work experience were non different opinions on the personnel management under the four Brahmaviharas of basic schools under the primary educational Nakhonratchasima service area office 5, with statistical significance at the level of 0.05.

References

ณัฐพร ภูทองเงิน. (2555). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรมวิหาร 4 ในกลุ่มสถานศึกษาเขตพื้นที่ ที่ 1-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระจำปี ชินดา. (2552). การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พระมนัส อคฺคธมฺโม (ก้อนใหญ่). (2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาเขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุพจน์ สุเมโธ. (2558). พรหมวิหาร 4 : แนวคิดเชิงบูรณาการในการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา, Journal of Art KiongHok. ม.ป.ท.
Published
2017-06-30
How to Cite
พรหมเมตตา, สมศักดิ์; เพียยุระ, สังวาลย์; คณารักษ์, พระครูสโมธานเขตคณารักษ์. การบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 61, june 2017. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1305>. Date accessed: 18 jan. 2025.