พระพุทธเจ้ากับการให้คำปรึกษา

  • พระครูพิสณฑ์สิทธิการ สิทธิการ

Abstract

พระพุทธเจ้ามี กระบวนการที่ผู้ที่ให้การปรึกษา (Counselor) ซึ่งมีภาวะแห่งความเป็นกัลยานิมิต ซึ่งช่วยให้ผู้ที่มีความทุกข์เพราะอวิชชาคือความไม่รู้เท่าทัน และรู้แจ้งตามความเป็นจริง ให้เกิดสติ มีปัญญา ตระหนักรู้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นและสาเหตุที่มาแท้จริง จนทำให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความพร้อมที่จะลดความทุกข์ลงพร้อมกับลงมือปฏิบัติพัฒนาไปในทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านพฤติกรรม และด้านอารมณ์ ความรู้สึก สาเหตุที่ต้องให้คำปรึกษาเชิงพุทธนั้นเพราะว่ามนุษย์หรือสัตว์มีทุกข์ดังกล่าวมาแล้วก็จะต้องหาวิธีการแก้ทุกข์ด้วยการเข้ามารับการปรึกษาหรือการรับคำแนะนำจากพระพุทธองค์หรือเหล่าสาวกของพระพุทธองค์เพราะถือว่าความทุกข์ดังที่กล่าวมานั้นจัดได้ว่าเป็นปัญหาและเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตใจหรือที่เราเรียกกันว่าเป็นโรคทางจิตนั่นเอง แนวคิดการให้การปรึกษาตามแนวพุทธศาสนามีขั้นตอนการให้การปรึกษาเป็นไปตามอริยสัจ 4 เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้พัฒนาตนเอง ในการแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีการปฏิบัติตามแนวทางมรรค คือการดำเนินชีวิตตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยผู้ให้การปรึกษาเป็นกัลยานิมิตชี้แนวทางให้แก่ผู้รับการปรึกษาโดยนำหลักอริยสัจซึ่งเป็นสัจธรรมที่สำคัญที่นำมาใช้ในการให้การปรึกษา โดยผู้ให้การปรึกษาจะต้องเป็นผู้ที่มีกัลยาณมิตรธรรม มีพรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 เพื่อสามารถที่จะให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความไว้วางใจ ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาทำความเข้าใจปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้น ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสาเหตุของความทุกข์และความเชื่อ ความปรารถนา ความคาดหวัง ยึดมั่นถือมั่น ระหว่างความเป็นจริงที่ปรากฏและความเป็นจริงตามหลักธรรม การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนแล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการที่มีแนวทางระเบียบวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนจนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยให้ความสำคัญกับ (1) ศักยภาพของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาได้ (2) จิตของมนุษย์นั้นถูกกิเลสครอบงำกระบวนการพัฒนาด้วยการให้คำปรึกษาของพระพุทธศาสนานั้นสามารถที่จะช่วยได้ โดยเฉพาะให้ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีกิเลสสามารถที่จะพ้นทุกข์หรือแก้ไขปัญหา ผลของการให้การปรึกษา หรือการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ ในแต่ละครั้งนั้น พระองค์ทรงมีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอนว่าต้องการที่จะให้เกิดผลในการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพัฒนาบุคคลในด้านใด ส่วนมากผู้ที่ได้รับการปรึกษา หรือฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วมักจะได้บรรลุธรรมระดับใดระดับหนึ่ง เช่น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหัตผลเป็นที่สุด คือ การดับกิเลส และความทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง นั้นคือการได้บรรลุถึงพระนิพพานเป็นอุดมการณ์ที่ทุกคนปรารถนา เพราะเป็นสภาพที่ไร้ปัญหาอย่างถาวร


The Buddha has The process by which the counselor (Counselor) It helps those who are suffering because ignorance is ignorance. And awareness of reality, consciousness, wisdom, awareness, suffering and the cause. As a result, the consultant is ready to reduce suffering and develop in all three aspects: behavioral and emotional.The reason for the Buddhist consultation, because the human or animal suffering, then I must find a way to solve the suffering by taking counsel or receiving guidance from the Buddha or the disciples of the Buddha because it is considered suffering. It is said that it is a problem and suffering with the mind, or we call it a mental illness.The concept of Buddhist counseling is that the counseling process is based on the Four Noble Truths. To solve the problem using the method to follow the guidelines. It is the practice of the Three Noble Truths, namely, the cessation of meditation, by the counselor, as well as the guidance of the counselor by the principle of the Truth, which is used in counseling. The counselor must be a moral person.To be able to give the consultant confidence. Helps the counselor understand the problem or suffering. Helps the counselor, the cause of suffering, and the faith, desire, expectation, commitment, commitment. Between reality and reality Targeting clearly and proceeding to correct them in a way that has clear guidelines, procedures and procedures to achieve the desired goals.(1) human potential that can be developed (2) The human mind is overwhelmed by the process of development, with the counsel of Buddhism is able to help. Especially to help patients or those who have the ability to overcome the problem or problem. The effect of counseling Or the show of the Buddha.Especially to help patients or those who have the ability to overcome the problem or problem. The effect of counseling Or the show of the Buddha. Each time He has a definite goal of wanting to be effective in learning. Or in the development of the person. Most people who get counseling Or listen to Dharma from the Buddha, then usually achieve a certain level. The most important thing to remember is that you are not alone. That is to achieve Nirvana. An ideology that everyone desires. It is a permanent problem.

References

ขวัญ เพียงหทัย. (2544). ธรรมะรอบกองไฟ. กรุงเทพมหานคร : ห้องหนังสือเรือนธรรม.
จำลอง ดิษยวณิช. (2544). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์.
ประทีป พืชทองหลาง. (2556). รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พัฒนา.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534). พุทธศาสตร์กับการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร : กองทุนวุฒิธรรมเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติธรรม.
_______. (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก. (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร :บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
_______. (2543). ความคิด แหล่งสำคัญของการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
พุทธทาสภิกขุ. (2548). ตัวกู ของกู. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อมรินทร์.
มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์. (2541). พุทธธรรม ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ สุวิริยาศาสน์.
แสง จันทร์งาม. (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาคาร.
โสรีช์ โพธิ์แก้ว. (2535). จิตปรึกษากับชีวิต. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภา จันทรสกุล. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Burke, H.M. Jr..&Stefflre, B. (1979). Theories of Counseling. 3rded..ZNew York: McGraw - Hill Book Company.
Patterson.C.H. (1973). Theories of Counseling and Psychotherapy.2nded..New York: Row, Publisher.
Pietrofesa. John L. (1975). Counseling: Research and Practice. Chicago: KandMcnally College publishing Coun.
Published
2017-06-30
How to Cite
สิทธิการ, พระครูพิสณฑ์สิทธิการ. พระพุทธเจ้ากับการให้คำปรึกษา. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 26, june 2017. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1302>. Date accessed: 08 may 2024.