ศึกษาแนวทางการดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์ อำเภอศรีวิลัย จังหวัดบึงกาฬ

  • พระเดช ธมฺมสโร
  • พระมหาปริญญา วรญาโณ
  • บุญส่ง สินธุ์นอก

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศีล 5 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 2) เพื่อศึกษาการดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5ของคณะสงฆ์อำเภอศรีวิลัย  จังหวัดบึงกาฬ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5ของคณะสงฆ์ ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิลัย  จังหวัดบึงกาฬ รูปแบบการวิจัย การทำวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทำการศึกษาใน 2 วิธี คืออาศัยเอกสารต่างๆและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นฐานในการนำเสนอและการอ้างอิง ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิลัย  จังหวัดบึงกาฬจำนวน 30 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า


หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาในส่วนที่เกี่ยวกับความประพฤติที่ดีงามและการหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ได้แก่ ศีล 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งเน้นที่เป็นประโยชน์เกื้อกุลแก่สังคมในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล5” เป็นนโยบายสำคัญของทางอาณาจักรและศาสนจักรซึ่งได้ร่วมในการนำหลักของศีล 5 ให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับครอบคลุมทุกพื้นที่โดยให้จัดทำในรูปของโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองและประโยชน์สุขของประชาชนและเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยยึดมั่นตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาอันจะส่งผลให้ประเทศชาติมีความสงบร่มเย็น


กระบวนการในการจัดบุคคลเข้าทำงานของคณะสงฆ์อำเภอศรีวิลัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานทั้งฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองร่วมกันและมีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานทั้งฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองร่วมกันทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานราชการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อวางแผนกำหนดนโยบายและวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนมีการประชุมคณะกรรมการบ่อยครั้งมีการสรุปผลการดาเนินการเป็นระยะและมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินการให้ดีอยู่ตลอดเวลาสำหรับข้อจำกัดด้านทรัพยากรนั้นก็มีการนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการสม่ำเสมอเพื่อหาแนวทางและวิธีในการแก้ไขข้อจำกัดต่างๆให้โครงการสามารถบรรลุตามเป้าหมายได้


การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอศรีวิลัย จังหวัดบึงกาฬเพื่อพัฒนาพฤติกรรมให้ดียิ่งขึ้นคือการพัฒนาทางด้านศีลให้เกิดขึ้นในจิตใจเป็นสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่โดยนำหลักศีลที่ประกอบด้วยธรรมหลายๆอย่างมาประกอบการประพฤติปฏิบัติมีความไม่ก้าวล่วงกิเลสอย่างหยาบทางกายวาจาการไม่ก้าวล่วงศีลได้นั้นจะต้องอาศัยการงดเว้นเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เป็นนิจเพื่อพัฒนาพฤติกรรมให้พัฒนาห่างไกลจากอกุศลธรรมต่างๆพัฒนาพฤติกรรมให้ดียิ่งขึ้นคือการพัฒนาทางด้านศีลให้เกิดขึ้นในจิตใจเป็นสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่โดยนำหลักศีลที่ประกอบด้วยธรรมหลายๆอย่างมาประกอบการประพฤติปฏิบัติคือความสงบสันติภายในและความสงบสันติภายนอกมีกติกากฎระเบียบในการดำเนินชีวิตปราศจากทุกข์และอุปสรรคทั้งปวงและยังสามารถพัฒนาก้าวถึงความพ้นจากทุกข์ได้ในที่สุด


The results of research were found that the principle of Buddhist teachings related to the good behaviors and to make their living with the right conduct, that is, the five precepts, especially aiming at the benefits for the society in living together with happiness. “The village project preserving the five precepts” is the important policy of the Kingdom and the religious ruling authority that participate in applying the principle of five precepts for people in every level and every family covering all locations by managing in the forms of projects for harmony and unity and the benefits of people and to create people to have good qualities by believing in the Buddhist teachings that result in the peace of the nation.


The process of managing individuals to work of the Sanghas in Srivilai District by establishing the committee and working party both the group of Sanghas and the state section and both Sanghas and officials establish the committee and working party for planning, policy determination, precise practice, often meeting of the committee, conclusion of the processing occasionally and improving the procedure all the time. The limitations of the resources are always brought in the meeting of the committee in order to find out the way and the method to solve the various limitations in order to make the project reach the goal.


The procedure of the village project preserving the five precepts of the Sanghas in srivilai District, Buengkan Province in order to develop the behavior better is that to develop the precepts in the mind as important. For daily life, the various topics of precepts consisting of various Dhamma are applied for practice by not violating the rough defilements. For physically and verbally violation of all precepts, one must abstain  in order to apply for daily life constantly, to develop the behaviors from various unwholesome and to develop the behaviors better, that is, to plant the precepts in one’s heart. In carrying on daily life, one must apply the principle of five precepts consisting of various Buddhist teachings for the practice, that is, for inside peace and outside peace, to have a rule and regulation in proceeding one’s life without suffering and all obstacles and to be able to develop until free from suffering in the end.

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (45 เล่ม). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคในการให้คำปรึกษาพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
นฤมล มาร์คแมน. (2543). มนุษย์และความเป็นจริงของชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รังสรรค์แสงสุข และคณะ. (2545). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จำลอง ดิษยวณิช. (2544). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่ : บริษัท กลางเวียงการพิมพ์จำกัด.
วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2545). จิตวิทยาพุทธศาสนา. สำนักพิมพ์ชีวาภิวัฒน์.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์รายวัน.
บุญมี แท่นแก้ว. (2547). พระพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่โอ.เอ. พริ้นติ้งเฮ้า.
วสิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรม.
พระเทวินทร์ เทวินฺโท. (2544). พุทธจริยศาสตร์และจริยธรรม. ผู้พิมพ์คุณนงลักษณ์ครุฑแก้ว.2544.
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ,[ออนไลน์] https://www.sila5.com/detail/index, (25ตุลาคม 2560)
สุพัตรา สุภาพ. (2549). ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่20. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.(อัดสำเนา). คู่มือการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”
Published
2016-12-31
How to Cite
ธมฺมสโร, พระเดช; วรญาโณ, พระมหาปริญญา; สินธุ์นอก, บุญส่ง. ศึกษาแนวทางการดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์ อำเภอศรีวิลัย จังหวัดบึงกาฬ. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 2, n. 2, p. 93, dec. 2016. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1297>. Date accessed: 05 may 2024.