การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับโมเดลของเดวิด เอช ออลซัน เพื่อการสร้างครอบครัวเข้มแข็ง

  • พระกฤษณพล ปญฺญาธโร
  • พระโสภณพัฒนบัณฑิต บัณฑิต
  • โสวิทย์ บำรุงภักดิ์

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาโมเดลการสร้างครอบครัวเข้มแข็งของเดวิด เอช ออลซัน 2) เพื่อศึกษาพุทธธรรมสำหรับการปรับใช้เพื่อครอบครัวที่เป็นสุข 3) เพื่อการบูรณาการครอบครัวเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมและโมเดลของ เดวิด เอช ออลซัน วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวที่เป็นแนวคิดของเดวิด เอช ออลซัน หลักธรรมที่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนไว้ให้ครอบครัวได้เกิดความเข้มแข็ง และเอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้ว รวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ เอกสารที่นำมาแล้ว นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณ


ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดการสร้างครอบครัวเข้มแข็งในโมเดลการสร้างครอบครัวของเดวิด เอช ออลซัน โดยโมเดลทั้ง 6 เป็นรูปแบบในการช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหาความไม่สมดุลของครอบครัวในทางการสื่อสาร ความยึดเหนี่ยวระหว่างกันและความยืดหยุ่นระหว่างกัน ลดความเป็นเผด็จการของผู้นำครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุการณ์นำมาซึ่งความรุนแรง ในครอบครัวทั้งในทางกายและวาจา มีการพึ่งพาซึ่งกันและกันในสมาชิกของครอบครัว ลดความขัดแย้ง มีการปรึกษาพูดคุยมีการประคับประคองไม่ให้เกิดความรุนแรง ลดความความขัดแย้งของสมาชิกภายในครอบครัว


หลักพุทธธรรมทั้ง 6 เป็นหลักธรรมสำหรับการปรับใช้เพื่อครอบครัวที่เป็นสุข ซึ่งเป็นหลักธรรมของคฤหัสถ์ในการประกอบอาชีพในการเลี้ยงครอบครัวประกอบด้วย สมชีวิธรรม เป็นหลักธรรมที่มีความเสมอกันระหว่างชายหญิง พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่เป็นผู้นำของครอบครัวและสังคมสังคหวัตถุ เป็นหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจระหว่างกันไว้ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นหลักธรรมที่เกื้อหนุนในปัจจุบัน ฆราวาสธรรม เป็นเครื่องอยู่ของทางคฤหัสถ์ และทิศ 6 เป็นการปิดป้องภัยจากทิศทั้งหลาย ในหลักพุทธธรรมมีความจำเป็นอย่างมาก ในการมีครอบครัว เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันกับสมาชิกครอบครัวและสังคม


การบูรณาการครอบครัวเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมกับโมเดลเดวิด เอช ออลซัน เป็นการบูรณาการผสมผสานในการใช้หลักธรรมร่วมกับโมเดลของเดวิด เอช ออลซัน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในครอบครัวประเทศไทย ในการรับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการดำเนินชีวิตจากต่างประเทศ ทำให้เห็นผลประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ห่างเหินจากคำสอนทางศาสนา ด้วยเหตุนี้ การบูรณาการนี้เป็นการใช้หลักพุทธธรรมนำชีวิตร่วมกัน ที่ต้องการความยึดเหนี่ยวระหว่างกัน ยืดหยุ่นระหว่างกัน และการสื่อสารให้เห็นผลประโยชน์ในการอยู่รวมกันมากกว่าเห็นผลประโยชน์ของตนเอง


The aims of this research were: 1) to study the strong family formation of David H. Olson; 2) to study Buddhist dhammas for the peaceful family adaptation; 3) to integrate the strong family in accordance with Buddhist principles with Olson model. This study employed the documentary research methodology in studying the strong family concepts of Olson and the relevant dhammas, academic papers and related documents before analysis; synthesis and descriptive interpretation of the obtained data were used to present the research results.


The research results revealed that the concept for building a strong family of Olson is a model for helping families experiencing family imbalances in communication, interlocking and mutual flexibility. It reduces the oppression of family leaders, which is a serious incident in the family. It is mutual dependence on the family members to reduce conflictsand increase discussions, avoidance of violence.


The Buddhist principles for laypeople applied to build the happy family are: the right occupation dhamma (samajīvitā-dhamma), the dhamma for gender equality; the sublime states of mind (brahmavihāra), the dhamma for the family and society leaders; the bases of social solidarity(sagahavatthu), the dhamma for mental binding; the virtues conductive to benefits in the present (diṭṭhadhammikattha); virtues for a good household life (ghāravasadhamma); the six directions (disa); the dhamma for danger protection from all directions. These dhammas are necessary for the family members and society to raise understanding in living at the present.


The application of the Buddhist principles with the strong family model of Olson to create the strength within the family in Thai society is important based on a great change influenced by the western cultures which caused people to become selfish and avoid religious practices. The application leads to inter-flexibility, relation and betterment of communication beneficial to the public.

References

ดุษฏี โยเหล่า. (2545). ความเข้มแข็งของครอบครัว : ครอบครัวสุขภาพดี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์.ปีที่ 8 กันยายน 2545.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มติคณะรัฐมนตรี, สำนักงานกิจการและสถาบันครอบครัว. นโยบายและยุทธศาตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547- 2556. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ยุทธนา ไชยจูกุล. (2552). การวิจัยและพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ 15. ฉบับที่ 1. (กันยายน 2552).
Blaine J. Fowers and David H. Olson. (1993). ENRICH Marital Satisfaction Scale: A Brief Research and Clinical Tool, Journal of Family Psychology, Vol. 7, No. 2.
Olson, D.H. McCubbin. H.I. and Barnes, H. (1982). Family Inventories: Inventories used in a National Survey of Families Across the Family Life Cycle St. Paul. MN: University of Minnesota.
Published
2016-12-31
How to Cite
ปญฺญาธโร, พระกฤษณพล; บัณฑิต, พระโสภณพัฒนบัณฑิต; บำรุงภักดิ์, โสวิทย์. การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับโมเดลของเดวิด เอช ออลซัน เพื่อการสร้างครอบครัวเข้มแข็ง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 2, n. 2, p. 35, dec. 2016. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1290>. Date accessed: 05 may 2024.