ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

  • สุพรรณี บุญหนัก

Abstract

         บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามความพึงใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test, F-test และ Scheffé ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่มีความพึงพอใจในด้านความสำเร็จในการทำงานมากที่สุด และบุคลากรมีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการปกครองของผู้บังคับบัญชา สถานภาพส่วนบุคคลที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติของบุคลากรได้แก่ 1) ประเภทของบุคลากร บุคลากรสายวิชาการ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูงกว่าบุคลการสายสนับสนุน วิชาการ และ 2) ประสบการณ์ทำงาน บุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า จะมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานสูง กว่าบุคลากรที่ประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีระบบการบริหารและจัดการบุคลากรภายในองค์การ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ 2) ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน โดยใช้หลักพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ 3) ควรมีการส่งเสริมให้มีการสร้างภาวะผู้นำกับบุคลากรทุกระดับเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง


         The article aimed to study and compare staff’s satisfaction to their performance at the faculty of Management Science, Mahamakut Buddhisti University, Srilanchang Campus, by personal status. The qualified questionnaire was used as the research instrument. The collected data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Scheffe. The research findings were as follows: staffs were satisfied with the performance at intermediate level. The satisfaction towards job accomplishment came first followed by job position and work environment. Besides, the factors affecting job satisfaction were 1) personnel category. The ones whose responsibility perform as an instructor were rather satisfied with the job than the supporting officers, which probably caused by higher subsidy. And 2) work experience; the personnel with long work experience had higher impression on job than less-experienced staffs. It was because the former groups were more capable to solve problems.

References

กิติมา ปรีดีดิลก.(2529). ทฤษฎีบริหารองคการ. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.
ประคอง กรรณสูตร. (2537). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิทักษ์ จันทร์เจริญ และนิตยา ทวีชีพ. (2551). ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อการปฏิบัติงานในกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
วลัยภรณ์ วชิรเขื่อนขันธ์. (2548). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, สมุทรปราการ.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.
Vroom, V.H. (1994). Work and Motivation. New York: John Wiley & Son.
Published
2020-06-30
How to Cite
บุญหนัก, สุพรรณี. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 103, june 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1289>. Date accessed: 20 may 2024.