สิกขาบทปริทัศน์: ศึกษาข้อถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา

  • พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาปาริสุทธิศีลในพระพุทธศาสนา  2. เพื่อศึกษาประเด็นข้อถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา 3. เพื่อปริทัศน์ประเด็นข้อถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา


           ผลการวิจัยพบว่า ปาริสุทธิศีลในพระพุทธศาสนา: ศีลสำหรับภิกษุสงฆ์ 4 ประเภท เรียกว่า ปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลเป็นเครื่องให้บริสุทธิ์ หรือความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล 4 ประการ คือ 1. ปาฏิโมกขสังวรศีล คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ 2. อินทรียสังวรศีล คือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรม 3. อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ และ 4. ปัจจัยสันนิสิตศีล คือ การใช้สอยปัจจัยสี่ด้วยพิจารณาให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ เพื่อไม่ให้การบริโภคนั้นเป็นไปตามตัณหา


ประเด็นข้อถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนาพบว่า การถกเถียงมีทั้งส่วนที่เป็น พุทธบัญญัติอันเป็นข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดและส่วนของอภิสมาจารเป็นการเกิดขึ้นจากขบนบธรรมเนียมที่ทรงปฏิบัติสืบทอดกันมา การเกิดขึ้นของอภิสมาจารก็เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงให้ดีงาม การถกเถียงนั้นไม่ได้มีแต่เพียงในปัจจุบันเท่านั้น แม้แต่ในพุทธกาลก็ยังมีการถกเถียงเรื่องพระธรรมวินัยกันเช่นกัน


          ปริทัศน์ประเด็นข้อถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนาพบว่า การบัญญัติสิกขาบทในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ก็เพื่อใช้เป็นข้อห้ามสำหรับพระภิกษุ เป็นหลักเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันของหมู่คณะ และเพื่อให้พระพุทธศาสนามีความตั้งมั่น เมื่อใดที่ภิกษุทำความผิดขึ้น ก็นำเอาบทบัญญัติไว้สำหรับมาคอยตรวจสอบเพื่อนำไปสู่การตัดสิน เป็นกระบวนการแห่งการไต่สวน สอนสวน พิจารณาตรวจสอบ ปรับโทษสำหรับผู้ที่ทำความผิด


The objective of the research that 1. To study the Parisuddhi-sila in Buddhism. 2. To study the Issues Controversy and interpretation of the precepts. 3. To study Sikkhapada Review: controversies and interpretations study of silā in Buddhism.


The research found that Parisuddhi-sila in Buddhism: There are four practices for the monks that 1) Parisuddhi-sila: morality consisting in purity; morality for purification; morality of pure conduct. 2) Patimkkhasamvara-sila: restraint in accordance with the monastic disciplinary code. 3) Indriyasasamvara-sila; restraint of the senses; sense-control. 4) Ajivaparisuddhi-sila: purity of conduct as regards livelihood.


Controversy is a part of it. The Buddhist scriptures had created by the Buddha.  The Buddha had created the rule for prevent damage and the blame abusive monk. But the rules (Aphisamacara) about the decent conduct, it have don by traditional practice. The rules (Aphisamacara) about the decent conduct, it comes for good deed of monks. The Controversies is not only present but also in the Buddhist era, there is a debate about the discipline as well.


The Issues Controversy and interpretation of the Buddhist precepts that the prevention of Buddhism in this way is forbidden for monks. The Buddhist Categorization in Buddhism like this, it is used as an interdiction for monks. It is the principle of Sangha and being Buddhism. Whenever monks make some mistake. They will take the provisions to check for judgment.  It is a process of inquiry into gardening, Condemnation for wrongdoers.

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Phra Buddhakosajar. (2003). Thai Tipitaka. Bangkok: (1996). Mahachulalongravidyalaya University.Visuddhimagga. Bangkok: Printing prayuravong.
Phrakanajeedhammasamathivath. (1970). Fairness Mahayana. Bangkok : Wat Mang-korkalavas.
Published
2016-12-31
How to Cite
ฐิตปญฺโญ, พระมหามิตร. สิกขาบทปริทัศน์: ศึกษาข้อถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 2, n. 2, p. 23, dec. 2016. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1288>. Date accessed: 29 nov. 2024.