ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

  • ทัศนีวรรณ์ แก้วพรหม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ
นาด้วง จังหวัดเลย จำนวน 139 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใช้สูตรของ Taro Yamane ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเพื่อการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคือ ไค-สแควร์ (Chi-square)


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 รองลงมาคือ ด้านด้านข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ


 


4.47 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ตามลำดับ


            2) ความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ที่มี เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ ต่างกัน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แต่ที่มีอายุต่างกัน มีความสัมพันธ์กันกับความขัดแย้งในองค์กร โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


            3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย สามารถแยกเป็นด้าน มีรายละเอียดดังนี้ (1) ด้านข้อมูลข่าวสาร คือ ควรบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ รวบรวม จัดเก็บ และ สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ด้านผลประโยชน์ คือ ควรมีการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้นด้วยความเป็นธรรม (3) ด้านโครงสร้าง คือ ควรมีการจัดสภาพแวดล้อม โครงสร้างหน้าที่ เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็ว(4) ด้านความสัมพันธ์ คือ ควรมีกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์บุคลากรทั้งภายนอกและภายในองค์กร


            The objectives of the research article were (1) to study factors related to any conflict within local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, (2) to study relationship between conflicts in local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, and (3) to study recommendations on factors related to conflicts in local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province. The samples of the research were 139 officials and employees local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, selected through Taro Yamane’s stratified random sampling.  formula. The instrument of the research was the five-choice rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis comprised of percentage, mean, standard deviation, and Chi-square. 


            The findings of the research were as follows:  


            1) Factors related to conflicts in local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, were found to be overall at a high level ( = 4.10). Separately considered in the descending order, the aspect with the highest level of mean scores was the benefit ( = 4.47), followed by the information ( = 4.47), and the aspect with the lowest mean scores was relationship ( = 3.89).


            2) The conflict in local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, classified by officials’ and employees’ gender, educational level and income, was found not to be different, but the conflict in local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, classified by those with different age, was found to be different at a statistically significant level of 0.05


            3) The recommendations on factors related to conflicts in local administrative organizations, Na Duang District, Loei Province, were as follows: (1) In terms of information, the information should be systematically administrated, collected, stored in order to be effectively retrieved. (2) In terms of benefits, position promotion should fairly considered. (3) In terms of the structure, the internal environment of the organizations, including functional structures, should be managed to support easy-and-quick operational performance. (4) In terms of relationship, activities for coordination of internal and external personnel should be provided.

References

ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว และคณะ. (2542). รวมพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
ฐานิสรา เดชเทวัญดำรง. (2551). ทัศนะของพนักงานที่มีต่อความขัดแย้งในองค์กร : กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปิยะสตรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
นัฐพร กสิบุตร. (2552). แนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
พรนพ พุกกะพันธ์. (2542). การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : ว.เพ็ชรสกุล.
เทศบาลตำบลนาด้วง. (2555). แผนพัฒนาตำบลสามปี (พ.ศ. 2555-2557). เลย: เทศบาลตำบลนาด้วง.
Published
2020-06-30
How to Cite
แก้วพรหม, ทัศนีวรรณ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 63, june 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1286>. Date accessed: 20 may 2024.