ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย

  • อัมภาภรณ์ สายสิงห์
  • บุญช่วย ศิริเกษ
  • อิสรียา พจนธารี

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ปกครองและเปรียบเทียบระดับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กจำนวน 297คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนแบบประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) และการทดสอบเอฟ (F-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า


          ระดับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านสังคม ผลการศึกษาเปรียบเทียบระดับคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยจำแนกตามเพศ โดยภาพรวมพบว่า ผู้ปกครองเพศหญิงและเพศชายมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านร่างกายและด้านสติปัญญาผู้ปกครองมีความคาดหวังแตกต่างกันส่วนด้านอารมณ์-จิตใจ และด้านสังคมผู้ปกครองมีความคาดหวังไม่แตกต่างจำแนกตามอายุ โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอาชีพ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังไม่แตกต่างกันและจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนโดยภาพรวมและรายด้านพบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05


This research aims to study the expectations of parents and compares the expectations of parents on the learning experience of the child development center. Under the Local Government in PhaKhao District, Loei Province. The research sample of 297 parents of children who used the questionnaire to collect information about the scale.Data were analyzed using computer software to analyze the frequency statistics include the percentage, standard deviation, T-Test, F-Test, and One Way ANOVA.


The research found that


The expectations of parents on the overall learning experience on many levels. And in all aspects. And the side with the highest average is the body. The two groups had the lowest average is the social aspect. The study compares the expectations of parents on the learning experience. By sex Overall found Parents females and males have different expectations statistically significant at the .05 level, considering it was found that the body and the intellect. Parents have different expectations. The emotional and social parents have no different expectations, By age and overall revenue has not found that parental expectations are no different. Level of Education The overall and have found that parental expectations are significantly different at the statistical level. 05. BY career overall and income. Found that parents have different expectations. And by income per month overall. And have found that parental expectations are significantly different at the statistical level. .05

References

กุลยาตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดสันเพรสโปรดักส์.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2552).คู่มือมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ; กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
คณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ผกามาศ จุดรัมย์. (2552). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
เยาวพา เดชะคุปต์ และคณะ. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนวิชา ECEC 801 การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2542).การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.
สมพงษ์ จำปาขีด.(2551). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Brewr,Jo Ann.(1995).lntroduction to Early Childhood Education:Preschool Through Primary Grades. Boston :Allyn & Bacon.
Brewr,Jo Ann.(2004).lntroduction to Early Childhood Education:Preschool Through Primary Grades. Boston : 5 th ed. EAllyn & Bacon :Pearsom.
Published
2020-06-30
How to Cite
สายสิงห์, อัมภาภรณ์; ศิริเกษ, บุญช่วย; พจนธารี, อิสรียา. ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 2, n. 1, p. 75, june 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1284>. Date accessed: 29 apr. 2024.