คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

  • ศุทธา แสนกิจตะ

Abstract

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
(2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน และ (3) ศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ได้ใช้สูตรในการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที t - test และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) F - test หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) โดยมีค่านัยสำคัญที่ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีความคิดเห็นว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่อยู่อาศัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านพัฒนาท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านปลูกฝังค่านิยม และด้านรายได้ ส่วนด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด


            2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นว่าคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยรวมทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน


            3) ความคิดเห็นของประชาชนประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เรียงตามความถี่มากที่สุดไปน้อย
3 อันดับ คือ 1) ควรมีการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ทางการเกษตรและช่วยสนับสนุนเมื่อราคาผลผลิตตกต่ำ จัดให้มีการฝึกอบรมในอาชีพนี้ให้อย่างทั่วถึง 2) อุทกภัยทางธรรมชาติทำให้เกิดความเสียหายทั้งที่อยู่อาศัย และการเกษตร มีงบประมาณมาช่วยน้อยไม่เพียงพอ 3) การประกอบอาชีพด้านการเกษตร มีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่แน่นอน ทำให้รายรับไม่พอกับรายจ่าย เรียงตามความถี่มากที่สุดไปน้อย คือ 1) ประชาชนขาดความสำนึกในหน้าที่ของตนเองในการอยู่ร่วมกันในสังคม


            The objectives of this research paper were 1) to study the level of life quality of people in the area of people in Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province, 2) to compare the level of life quality of people with the difference in sex, age, and educational level in Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province, and 3) to study the suggestions about life quality of people in the area of people in Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province. The sample group used in this study was the people in the area of Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province. The sample size was determined by formula of Taro Yamane and there were 361 people selected as the sample group. The research instrument used in this study was the questionnaire with rating scale form. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test testing, and one-way test of variance (One-way ANOVA). If there was statistically significant difference at 0.05, there would be paired different testing of average with Scheffe’s method.


            The results of this research were found as follows:


            1) The level of life quality of people in the area of people in Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province was at high level in overall. When each side was taken into consideration, the results were found that the side of residence was at the highest level, the second side was local development, education, value cultivation, and income, while the lowest level was health side.


            2) The result of comparison was found that life quality of people with the difference in sex, age, and educational level in Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province was not difference in all six sides.


            3) The suggestions of the people in in the area of Chaiyaphuek sub-district administration organization at Chaiyaphuek sub-district Muang Loei district Loei province ranging from the highest frequency to the lowest frequency in three sides as follows: 1) there should be agricultural cooperative group settlement and supporting the people whenever the prize of products was low and there should be vocational training for people thoroughly. 2) natural flood caused a lot of damage to residence and agriculture but the fund for helping was not enough. 3) the income from agricultural occupation was unsteady which caused income not to be related to expense.

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). แผนยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (พ.ศ. 2550 – 2551). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2550 แหล่งสืบค้น https://moc.ocsc.go.th/sites/default/files/08_1_krm7krmsngesrimkaarpkkhrngthngthin_khmuul.pdf
ณัฐวัฒน์ ขันโท. (2556). คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี : สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปกรณ์ วามวาณิชย์. (2558). คุณภาพชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษาตำบลวารินชาราบและตำบล แสนสุข อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พระสมุห์ทรง สญฺญโต. (2556). บทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรชัย พิศาลบุตร. (2548). เรียนรู้สถิติและการวิจัยด้วยกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทจูนพับลิชซิ่ง จำกัด.
สิริภักดิ์ ศรีศิลารักษ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบล วัดชะลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ร่างการพัฒนาดัชนีชี้ วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี (เอกสารอัดสำเนา).
Published
2020-06-30
How to Cite
แสนกิจตะ, ศุทธา. คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 1, june 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1257>. Date accessed: 20 may 2024.