การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

  • พระบวร ปวรธมฺโม

Abstract

บทคัดย่อ


          การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้สอนในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 91 คน เป็นนักศึกษาจากสาขาวิชาการปกครอง สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และนักศึกษาจากสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ วิธีการ และกิจกรรม ดังนี้ รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการเรียนรู้แบบมโนทัศน์ รูปแบบการสอนแบบอุปนัย รูปแบบการสอนโดยการสร้างสื่อการสอน การอภิปรายกลุ่ม กรณีศึกษา เกม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการเรียนรู้โดยใช้วีดิโอเป็นฐาน จำนวน 15 สัปดาห์ บันทึกถึงผู้สอนและแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในภาพรวมพบว่า กิจกรรมที่ผู้สอนจัดให้กับนักศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก โดยนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่า ผลที่นักศึกษาได้รับมากที่สุดคือ ส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักศึกษาฝึกหัดการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ส่งเสริมให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้การค้นคว้าร่วมกัน ส่งเสริมให้นักศึกษายอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้นเรียน ช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม และช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการคิด 2) คุณลักษณะผู้สอนนักศึกษามีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดคือ ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมในการสอน รองลงมาคือ ผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการสอน และผู้สอนคอยดูแลช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในการปฏิบัติงาน


คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, นักศึกษาระดับปริญญาตรี


 


 


Abstract


            A study results of Proactive learning management on Undergraduate student Mahamakut Buddhist University was aimed to examine the effects of active learning on Undergraduate students and to evaluate the characteristics of instructors in the management of active learning. The samples were Undergraduate students in the first semester of academic year 2019, there are 91 students. The research tools included an active learning management plan using the model, cooperative learning model, concept attainment model, inductive teaching and learning model, media organizer instructional model, group discussion, case study, game, problem base learning, and constructivist video instruction in the 15 week, meme to instructors, and a questionnaire with reliability of 0.94.


            The result suggested a study results of Proactive learning management on Undergraduate student Mahamakut Buddhist University in overall found that the activities arranged by instructors for students were appropriate at the high level. 1)Students reported the most pronounced effect of activities arranged by instructors was on promoting collaborative learning, followed by practicing class oral presentation, enabling teamwork skills development, promoting active yourself, thinking process skills development. 2) For the characteristics of instructors, students viewed them as appropriate at the highest level, with instructors’ preparedness in teaching, followed by instructors’ knowledge and competency in teaching and instructor cares and suggests to the student in the working.


Keyword: Active learning, Undergraduate student

Published
2020-08-31
How to Cite
ปวรธมฺโม, พระบวร. การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, [S.l.], v. 1, n. 2, p. 9-23, aug. 2020. ISSN 2730-2288. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/hsjs/article/view/971>. Date accessed: 23 nov. 2024.