A การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย) 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย) 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย) 4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1. ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ๒. ครูผู้สอน จำนวน 17 คน ๓. นักเรียนในโครงการ จำนวน 100 คน ๔. ผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการ จำนวน 100 คน ๕. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 233 คน ระยะเวลาการวิจัย ปีการศึกษา 2562 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 – มิถุนายน 2563 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผลการประเมินโดยภาพรวม ในภาพรวมพบว่า นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ในภาพรวมพบว่าด้านบริบทมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ในภาพรวมพบว่าด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมพบว่า ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 5.ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมพบว่า ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก