แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น

  • วินิจ เงาแก้ว

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มข้าราชการทหาร ที่อยู่ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 43 คน นำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า


  1. ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 43 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 0 เป็นเพศชาย ร้อยละ 100 ประชากรส่วนใหญ่ มีอายุ 21– 30 ปี ร้อยละ 30.23 รองลงมา อายุ 31 - 40 ปี ร้อยละ 27.91 อายุ 51 - 60 ปี ร้อยละ 23.26 อายุ 41 - 50 ปี ร้อยละ 18.60 และอายุ 18– 20 ปี ร้อยละ 0 ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ เทียบเท่า จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 51.16 รองลงมาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา/ ปวส./ เทียบเท่า จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 41.86 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.98 และมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ เทียบเท่า และสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่มีระดับชั้นยศชั้นประทวน มีจำนวน 41 คนคิดเป็นร้อยละ 95.35 รองลงมา คือ มีระดับชั้นยศชั้นสัญญาบัตร จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.65 ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่มีระดับเงินเดือน 20,001 - 30,000 บาท จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 51.16 รองลงเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ มีระดับเงินเดือน 30,001 บาทขึ้นไป จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 25.58 มีระดับเงินเดือน 10,001 - 20,000 บาท จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 20.93 และมีระดับเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.33 ตามลำดับ

  2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.98) เมื่อพิจารณาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในแต่ละด้านพบว่า ด้านความต้องการเจริญก้าวหน้าอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) ด้านความต้องการทางสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.21) ด้านความต้องการความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก ( = 3.98) ด้านความต้องการความสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.19) ด้านเงินเดือน อยู่ในระดับมาก ( = 3.75) ด้านความต้องการความมั่นคง อยู่ในระดับ มาก ( = 3.92) ด้านตำแหน่งงาน อยู่ในระดับ มาก ( = 3.93) ด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับ มาก ( = 3.97) ด้านนโยบายการบริหาร อยู่ในระดับ มาก ( = 3.83) ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.09)

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น มีดังนี้ 1) ด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า การเลื่อนยศและตำแหน่งไปตามระยะการครองยศเมื่อครบวาระ โดยไม่ต้องรอจนกว่าจะมีตำแหน่งว่างก่อนถึงได้เลื่อนยศ การเลื่อนยศควรพิจารณาจากการทำงานตามความเป็นจริง การพิจารณาขั้นต้องมีความเป็นธรรม ร้อยละ 6.97 2) ด้านความต้องการทางสังคม ควรมีการประสานงานกันภายในสายงาน โดยไม่หวงวิชาความรู้ ร้อยละ 2.32 3) ด้านความต้องการความสำเร็จ ควรมีการสานงานกันต่อภายในสายงานในช่วงที่เจ้าหน้าที่อีกคนไม่อยู่ได้ ควรมีการทำงานแทนกันได้ ร้อยละ 4.65 4) ด้านความต้องการความสัมพันธ์ ควรมีการจัดกิจกรรมการเล่นกีฬาภายในแผนกอาทิตย์ละครั้ง ร้อยละ 4.65 5) ด้านเงินเดือน ควรมีการเพิ่มค่าครองชีพ ควรมีการเพิ่มขั้นเงินเดือน ร้อยละ 4.65 6) ด้านความต้องการความมั่นคง ควรมีการช่วยเหลือปกป้องซึ่งกันและกันภายในแผนก เพื่อป้องกันการถูกปลดออกจากงาน ร้อยละ 2.32 7) ด้านตำแหน่งงาน ควรมีตำแหน่งในการบรรจุมากกว่านี้ ควรมีการบรรจุลงตามตำแหน่งในคำสั่งบรรจุ ร้อยละ 4.65 8) ด้านความรับผิดชอบ ควรมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตัวเอง ไม่ควรทิ้งงานในสายงานตัวเองให้กับคนอื่นทำต่อ ร้อยละ 4.65 9) ด้านนโยบายการบริหาร ควรมีการแบ่งงานให้ตรงกับสายงานของแต่ละคน ควรมีการใช้ระเบียบในการบริหารงานภายในแผนก ควรมีการลงโทษตามความเป็นจริงและยุติธรรม ร้อยละ 6.97 10) ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรมีการทำงานให้เสร็จตรงตามเวลาที่ผู้บังคับบัญชากำหนด ควรมีการลงเวลาทำงานตรงตามความเป็นจริง ร้อยละ 6.97

คำสำคัญ: แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, ข้าราชการทหาร


Abstract


The research has aims to study; 1) the motivation to work of soldier in engineer department Military cycle 23th Sripatcharin fort Khon kaen province. 2) To study the suggestion to work of soldier in engineer department Military cycle 23th Sripatcharin fort Khon kaen province. The researcher collected the data from 43 sampling espondents by using questionnaires and analyzed the data by percentage. Mean and standard deviation statistics. The result was as follows:


  1. 1. The respondents, 100 percent were male. Most of the respondents, 23 percent, were age between 21-30 years old, 27.91 percent of the respondents were age 31-40 years old, 23.26 percent of the respondents were age 51-60 years old, 18.60 percent of the respondents were age 41-50 years old, and 0percent of the respondents were age 18-20 years old. Lot of the respondents, 51.61 percent, were graduated high school, 48.86 percent of the respondents were graduated vocational certificate, and 6.98 percentof therespondentswerebachelor degrees. The respondents, 4.65 percent, were commissioned officer, and 95.35 percent of the respondent were non- commissioned officer.

  2. 2. The motivation to work of soldier in engineer department Military cycle 23th Sripatcharin fort Khon Kaen province.

2.1) The motivation to work of soldier in engineer department Military cycle 23th Sripatcharin fort Khon Kaen province was at high mean level (= 3.98), 2.1.1) the aspect of to progress (= 3.94), 2.1.2) the aspect of social needs (= 4.21), 2.1.3) the aspect of demand to success (= 3.98), 2.1.4) the aspect of demand to relation (= 4.19), 2.1.5) the aspect of demand to salary (= 3.75), 2.1.6) the aspect of demand to stability (= 3.92), 2.1.7) the aspect of demand to rank (= 3.98), 2.1.8) the aspect of demand to onus (= 3.97), 2.1.9) the aspect of manage policy (= 4.09). 2.1.10) the aspect of (= 3.98),


  1. 3. There were 10 suggestions from this study; 1) The authority should justice to progress, 2) The staff should help each other, 3) The staff should work instead, 4) The staff should relation, 5) The staff should salary increase, 6) The staff should protect each other, 7) The authority should provide new staff, 8) The staff should Responsible for work, 9) The authority should divide the work at the description of the work, 10) The staff should completed of the work.

Published
2020-05-28
How to Cite
เงาแก้ว, วินิจ. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในแผนกยุทธโยธา มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, [S.l.], v. 1, n. 1, p. 10-23, may 2020. ISSN 2730-2288. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/hsjs/article/view/658>. Date accessed: 08 may 2024.