ผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งภายในองค์กร Leader with Conflict Management in Organization

  • ณัฐนิชา กังสดาลทิพย์

Abstract

บทคัดย่อ


           บทความนี้กล่าวถึงความหมาย ความสำคัญ ทฤษฎีการจัดการความขัดแย้ง และผู้นำกับการจัดการความขัดแย้ง พบว่า ผู้นำต้องมีวิธีรับมือกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพประกอบด้วย 5 วิธี ได้แก่ 1) การหลีกเลี่ยง 2) การปรองดอง 3) การประนีประนอม 4) การแข่งขัน และ 5) การร่วมมือ โดยผู้เขียนจำแนกสถานการณ์ความขัดแย้งไว้ 3 สถานการณ์ คือ 1) สถานการณ์ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล ผู้นำสามารถใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งแบบปรองดองและประนีประนอม 2) สถานการณ์ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหรือองค์กร ควรใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยงและร่วมมือกัน 3) สถานการณ์ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล กลุ่ม องค์กรที่เป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถหาข้อยุติ มีข้อโต้แย้งและไม่ยอมตกลงกัน ควรใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งแบบการแข่งขัน โดยผู้นำมีบทบาทสำคัญที่ให้คู่ขัดแย้งได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันและใช้โอกาสจากความขัดแย้งนั้นเพื่อทบทวนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้น เพื่อลดปัญหาและหาทางออกให้กับความขัดแย้งร่วมกัน แสวงหาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกันได้มากที่สุดเป็นแนวทางที่คู่ขัดแย้งควรให้ความสำคัญ


Abstract


This article discusses the meaning, significance, theory of conflict management. The leaders and the management of conflicts found that leaders must have a method for dealing with conflicts at an appropriate and effective level consisting of 5 methods: 1) avoidance 2) reconciliation 3) compromise 4) competition, and 5) cooperation. The authors identified three conflict situations as follows: 1) the interpersonal conflict situations, leaders can use reconciliation and compromise management methods. 2) the group conflict or organizational conflict situations, leaders can use avoidance and cooperative conflict management approach. 3) the individual conflict or group conflict or organizational conflict situations, the conflict cannot be resolved. There were arguments and refused to agree. Competitive conflict management methods should be used. Leaders play a key role in allowing couples to learn from each other and to take advantage of the conflict to reexamine and build a healthy relationship to reduce problems and find solutions to conflicts together seeking cooperation that both sides can most agree on a guideline that the conflict should be given priority.

Published
2021-04-30
How to Cite
กังสดาลทิพย์, ณัฐนิชา. ผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งภายในองค์กร Leader with Conflict Management in Organization. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, [S.l.], v. 2, n. 1, p. 39-49, apr. 2021. ISSN 2730-2288. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/hsjs/article/view/1408>. Date accessed: 29 mar. 2024.