การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค THINK PAIR SHARE เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
THE ACTION RESEARCH ON DEVELOPING THE LEARNING ACTIVITIES BY COOPERATIVE LEARNING USING THINK PAIR SHARE TECHNIQUE WITH EXERCISE TO PROMOTE LEARNING ACHIEVEMENT AND MATHEMATICAL WRITTEN COMMUNICATION SKILL OF PRATHOMSUKSA 2 STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Think Pair Share เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70.00 3) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70.00 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลเพ็ญประชานุกูล อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ 1.1) แผนการจัดการเรียนรู้ 1.2) แบบฝึกทักษะ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2.2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู 2.3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 2.4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 2.5) แบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ 3.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งได้ค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.31 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 3.2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.44 - 0.72 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Think Pair Share เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนทั้งชั้นเรียน 2) ขั้นคิด (Think) 3) ขั้นคิดคู่ (Pair) 4) ขั้นแบ่งปัน (Share) 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 5.77 คิดเป็นร้อยละ 28.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 17.30 คิดเป็นร้อยละ 86.50 ซึ่งนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.00 3. นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 1.77 คิดเป็นร้อยละ 8.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 18.00 คิดเป็นร้อยละ 90.00 ซึ่งนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.00
The purposes of this research were: 1) to develop the learning activities by cooperative learning using Think Pair Share technique with exercises to promote learning achievement and Mathematical written communication skill 2) to study and compare the student’s learning achievement gained before and after the mathematics instructional activities developed by cooperative learning using Think Pair Share technique with exercises with 70.00 criteria and 3) to study and compare the results of developing mathematical written communication skills before and after the mathematics instructional activities developed by cooperative learning using Think Pair Share technique with exercises with 70.00 criteria. This research was a quantitative and qualitative research. The participants in this research were thirty students who studied in Prathomsuksa 2/1 at Anubanphenprachanukul School, Udonthani Province, in the second semester of the academic year 2024. However, they were selected by using the cluster random sampling technique. The tools used in the research were classified into 3 categories: 1) the tools used to collect data were: 1.1) the lesson plans 1.2) the exercise book, 2) the tools used to reflect on operational results consisted post-lesson report, students’ behavior observation, interview, and tests were used at the end of the practice cycle and 3) The tools used for research evaluation were: 3.1) A mathematical achievement test with IOC values between 0.60 – 1.00, difficulty values between 0.31 – 0.75, discrimination values between 0.38 – 0.88 and the test reliability was 0.89. 3.2) the mathematical written communication in mathematical test with IOC values between 0.80 – 1.00, difficulty values between 0.44 – 0.72, discrimination values between 0.38 – 0.69 and the test reliability was 0.83. The data were analyzed by using the statistics method including percentage, mean and standard deviation.
The results of this study were shown as follows: 1. The development of the learning activities by cooperative learning using Think Pair Share Technique with exercises to promote learning achievement and mathematical written communication skill, there were 4 important steps including: 1) Introduction 2) Think 3) Pair and 4) Share. 2. Students had achievement test result on mathematics; the pretest mean score was 5.77 or 28.83 percent and the posttest mean score was 17.30 or 86.50 percent. The posttest mean score was higher than the pretest score, and the posttest mean score was not less than 70.00 percent. 3. Students had mathematical written communication skill, the pretest mean score was 1.77 or 8.83 percent and the posttest mean score was 18.00 or 90.00 percent. The posttest average score was higher than the pretest score, and the posttest average score was not less than 70.00 percent.
References
ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชิดาพร ศิริคุณ. (2567). ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี. 2(3). 109-118.
ภัทราพร เกษสังข์. (2566). การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิพเพรส.
วิไลวรรณ ชูปั้น. (2563). ผลการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและสมรรถนะด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. E-Journal of Education Studies, Burapha University. 2(4). 1-13.
วิไลวรรณ ธานี. (2550). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.
สาวินา บุญแสน. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณโดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3(4). 707-720.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และจินตนา วีรเกียรติสุนทร. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุภัตตรา เหง้าโอสา. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้นโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ. 1(4). 39–52.