ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT ต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

THE RESULTS OF TGT COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE TO THE MATHEMATICS ACHIEVEMENT OF GRADE 4 STUDENTS

  • วันทนีย์ พรมภักดี คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ละดา ดอนหงษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  หลังเรียนโดยใช้เทคนิค TGT กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้เทคนิค TGT 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านน้ำซึม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน  25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.27 – 0.50 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 – 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 หลังเรียนโดยใช้เทคนิค TGT สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค TGT อยู่ในระดับมาก


The objectives of this research were to 1) compare mathematics achievement of grade 4 students after learning using the TGT technique with the criteria of 70 percent 2) compare mathematics achievement of Grade 4 students between before and after learning using the TGT technique 3) study the satisfaction of Grade 4 students toward mathematics learning using the TGT technique. The Sample consisted of 25 grade 4 in the first semester of the academic year 2023 at Bannumsum School, Udon Province, by cluster random sampling. The research instruments were 1) lesson plans 2) the mathematics achievement tests had difficulty values between 0.27 – 0.50, discrimination values between 0.27 – 0.67 and reliability value was 0.85 3) the satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis comprised; mean, standard deviation, percentage, and t-test for dependent samples.


The results of this research found that; 1) The mathematics achievement of Grade 4 students after learning using the TGT technique was significantly higher than  70 at the .05 levels 2) The mathematic achievement of grade 4 students after learning was significantly higher than before at the .05 levels 3) The satisfaction of grade 4 students towards on the mathematics learning by using the TGT technique at the high level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คันธณัช พลวงค์, ปวีณา ขันธ์ศิลา, ประภาพร หนองหารพิทักษ์. (2565). ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเลขยกกำลัง โดยใช้เทคนิค TGT. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัย กาฬสินธุ์. 2(1). 14-25.

ทัศนา ชาวปากน้ำ. (2562). การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT) ร่วมกับเทคนิค KWL-Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

พลพล คำวัฒน์ และนันทพร ชื่นสุพันธรัตน์. (2563). การศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 5(1). 51-62.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). เทคนิคการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2548). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อุกฤษฏ์ ทองอยู่. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สาขาวิชาวิทยาลัยคุรุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Johnson, D.W. and Johnson, R.T. (1987). Cooperative Learning Increasing College Faculty Instructional Productivity, Higher Education Report. Washington D.C. : The Geoge Washington University.
Published
2023-11-06
How to Cite
พรมภักดี, วันทนีย์; ดอนหงษา, ละดา. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT ต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 353-364, nov. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2533>. Date accessed: 01 sep. 2024.