การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคคารูลเซิล รายวิชา ส23101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนร่องคำ

THE DEVELOPMENT OF LEARNING AND INNOVATION SKILL BY 5 STEPS LEARNING PROCESS WITH CAROUSEL TECHNIQUE IN S23101 SOCIAL STUDIES SUBJECT OF GRADE 9 STUDENTS RONGKHAM SCHOOL

  • อณิญารัต บุตสุริย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อังคณา ตุงคะสมิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม รายวิชา ส23101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคคารูลเซิล โดยมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส23101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคคารูลเซิล โดยมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนร่องคำที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน  30 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคคารูลเซิล จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม แบบทดสอบย่อยวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ทักษะ 1) ผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จากนักเรียนทั้งหมด 30 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 25.43 จากคะแนนเต็ม 30 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 นักเรียนทั้งหมด 30 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 34.13 จากคะแนนเต็ม 40 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67 นักเรียนทั้งหมด 30 คนและมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.70 จากคะแนนเต็ม 30 คิดเป็นร้อยละ 75.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 26 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 นักเรียนทั้งหมด 30 คน และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.57 จากคะแนนเต็ม 30 คิดเป็นร้อยละ 78.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้


The purposes of the present research were: 1) To Development of Learning and Innovation Skills in S23101 Social Studies of Grade 9 Students by 5 Steps Learning Process with Carousel Technique were at least 70% of the students who passed the prescribed criterion of 70% out of total score 2) To Development learning achievement in S23101 Social Studies of Grade 9 Students by 5 Steps Learning Process with Carousel Technique. There were at least 70% of the students who passed the prescribed criterion of 70% out of total score. The target group used in research is Grade 9 Students of Rongkham School in the first semester of academic year 2022 total 30 people conduct research using The Action Research tools are divided into 3 types;                 1) The tools used in the operation are the learning management plan that provides learning and Innovation skills activities, 5 Steps Learning Process with Carousel Technique of full 9 study plans 16 hours 2) Research reflective instruments consisted of post lesson report, teacher observation by observation form and observation pattern of student learning behavior, student interview form, communication and collaboration skills evaluation form, creativity and innovation skills evaluation form, critical thinking and solving skills tests of each operational cycle. 3) The tools used to evaluate the performance were critical thinking and solving skills tests, a learning achievement test. Data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation.


           The research found that: 1. The results of learning and innovation skills development             in three skills found that: 1) Test results, measure communication and collaboration skills evaluation were 30 students could passed the criteria which was 100%, with the average score of 25.43 out of 30 which was 84.78%, These result were higher than specified criterion. 2) Test results, measure creativity and innovation skills evaluation were 30 students could passed the criteria which was 100%, with the average score of 34.13 out of 40 which was 85.33%, These result were higher than specified criterion. 3) Test results, measure critical thinking and solving skills evaluation were 23 students could passed the criteria which was 76.67%, with the average score of 22.70 out of 30 which was 75.67%. These result were higher than specified criterion. 2. Test results, measure learning achievement were 26 students could passed the criteria which was 86.67%, with the average score of 23.57 out of 30 which was 78.56%. These results were higher than specified criterion.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565. จาก http//:www.curriculum51.net/upload/cur-51.pdf

กิตตินันท์ วงษ์แสดง. (2565). การศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5STEPs) ร่วมกับการแสดงละครรายวิชา ส31101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่องคำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงศธร จันเจียวใช้. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 Step) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง รายวิชา ส31102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัทธดนย์ มหาโยธี. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิค การสอน. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรวุฒิ ยิ่งนอก. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง ทรัพยากรธรณีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญพักตร์ ช่วยพันธ์. (2560). ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วราพร สิทธิ์พรสุวรรณ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะการทํางานร่วมกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สถาบันคีนันแห่งเอเชีย. (2553). เอกสารการประชุมปฏิบัติการจากครูแกนนำ IN-STEP ปีที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ : สถาบันคีนันแห่งเอเชีย.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(1). 1-16.

สันติศักดิ์ ทองสร้อย. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคคารูซัล ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิดขั้นสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). 42(185). 10-13.

สุภาพร ศรศิลป์. (2556). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565. จาก https://www.gotoknow.org/posts/509888

Kagan, S., & Kagan, M. (2009). Kagan Cooperative Learning. San Clemente : Kagan.

Martha, J.A. (2015). Peningkatan Hasil Belajar, Aktivitas, dan Efikasi Diri melalui Pembelajaran Model Carousel Feedback dan Showdown pada mata pelajaran Kewirausahaan. Journal Konseling Indonesia. 1(1). 86-95.

The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century. Retrieved 12 June 2021. From http//:21st_century_skills_standards_book_2.pdf (marietta.edu)
Published
2023-09-04
How to Cite
บุตสุริย์, อณิญารัต; ตุงคะสมิต, อังคณา. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคคารูลเซิล รายวิชา ส23101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนร่องคำ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 143-157, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2272>. Date accessed: 19 may 2024.
Section
บทความวิจัย