โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
THE PROGRAMS TO ENHANCEMENT IN INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL DIRECTOR UNDER MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็น และ 2) สร้างและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 135 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ สภาพที่พึ่งประสงค์ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างฯ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การนิเทศและประเมินผลด้านการสอน การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตร และการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนตามลำดับ และ 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการฯ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และการวัดและประเมินผล ซึ่งเนื้อหาของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน การนิเทศและประเมินผลด้านการสอน การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน และการบริหารหลักสูตร ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 2 รายการ
The objectives of this research article were: 1) to study the current conditions, the desired conditions, and the needs, and 2) to develop and evaluate a program for enhancing Instructional leadership among school administrators under the jurisdiction of the Maha Sarakham Primary Educational Service Area Office 1. This research employed a mixed-methods approach. The sample group consisted of 135 participants, including school administrators, deputy school administrators, and acting school directors, selected through stratified random sampling. In addition, there were 3 key informants. The research instruments included questionnaires, interview forms, and suitability assessment forms. The statistics used for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation, and the Modified Priority Needs Index
(PNImodified).
The research findings revealed that: 1) the current state of Instructional leadership among school administrators was at a moderate level overall, while the desired condition was at the highest level. The prioritized needs for enhancing Instructional leadership, in descending order, were: supervision and evaluation of teaching, promoting a conducive teaching and learning environment, curriculum management, and setting school goals; and 2) the developed program for enhancing Instructional leadership consisted of principles, objectives, content, development methods, and evaluation methods. The content of the program comprised four modules: setting school goals, supervision and evaluation of teaching, promoting a conducive teaching and learning environment, and curriculum management. The results of the evaluation of the program's suitability and feasibility were found to be at the highest level in both aspects.
References
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2566). รายงานสรุปผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายแบบบูรณาการศีขรภูมิ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วารสารมหาคชสาร. 14(2). 262-275.
จุฑาภรณ์ ไปนาน. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 7(1). 404-414.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์.
เพ็ญพักตร์ ภู่ศิลป์. (2557). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษา ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สรุปสาระสำคัญรายงานผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หฤชนันก์ แสนกันยา. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(1). 51-64.
Kutthalaeng, S. & Nuangchalerm, P. (2025). Needs and Feasibility of Academic Leadership Program for Secondary School Administrators. Journal of Practical Studies in Education. 6(3). 21-27.
Mbatha, M.V. (2009). The principal's instructional leadership role as a factor influencing academic performance: a case study. Thesis, Master of Education. Graduate School : University of South Africa.
Wildy, H. and Dimmock, C. (1993). Instructional leadership in primary and secondary school. Journal of Educational Administration. 31(21). 43-61.