โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

DIGITAL LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR TEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE, KALASIN PROVINCE

  • สุรัติ ภารไสว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ลักขณา สริวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 325 คน โดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้  แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ความรู้ดิจิทัล 2) วิสัยทัศน์ดิจิทัล 3) การสื่อสารดิจิทัล 4) การประยุกต์ใช้ดิจิทัล และ 2) โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 ความรู้ดิจิทัล Module 2 วิสัยทัศน์ดิจิทัล Module 3 การสื่อสารดิจิทัล Module 4 การประยุกต์ใช้ดิจิทัล 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล และได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด


This research article aims to: 1) study the current conditions, desirable conditions, and necessary needs regarding the digital leadership of teachers under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office in Kalasin, and 2) develop a program to enhance the digital leadership of these teachers. The sample group for this study consists of 325 teachers, selected using stratified random sampling based on Krejcie and Morgan’s table, as well as 5 experts. The research instruments include a 5-point Likert scale questionnaire, an appropriateness and feasibility assessment form, and a semi-structured interview. The statistical methods used for data analysis include percentage, mean, standard deviation, and the Priority Needs Index (PNIModified).


The research findings revealed that: 1) The current state of digital leadership development among teachers under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office in Kalasin was at a moderate level overall. The desirable condition was at the highest level. The priority needs, ranked from highest to lowest, were: 1) Digital Knowledge 2) Digital Vision 3) Digital Communication 4) Digital Application.
2) The digital leadership development program for teachers under the Secondary Educational Service Area Office in Kalasin comprised: 1) Principles 2) Objectives Learning content, which consisted of four modules Module 1 Digital Knowledge Module 2 Digital Vision Module 3 Digital Communication Module 4 Digital Application Development methods Assessment and evaluation and the program was evaluated by experts, who rated its appropriateness and feasibility at the highest level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

จักรี ต้นเชื้อ. (2555). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิรพล สังข์โพธิ์ และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล : องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงรัช แสบงบาล. (2567). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(2). 214-226.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริิยาสาส์น.

บุษกร วัฒนบุตร. (2559). การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 16(2). 163-176.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาโนช หัทยามาตย์. (2564). คุณลักษณะครูของโรงเรียนในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 2(2). 18-24.

วิเชียร วิทยอุดม. (2558). ภาวะผู้นำ : Leadership (ฉบับแนวใหม่). นนทบุรี : ธนธัชการพิมพ์.

ไวยวิทย์ มูลทรัพย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2566). รายงานผลการดำเนินประจำปีงบประมาณ 2566. กาฬสินธุ์ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567. จากhttps://www.ocsc.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ..

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567. จาก ttps://www.depa.or.th/storage/app/media/file/depa-Promotion-Plan-Book61-65.pdf

สำนักนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย. (2566). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566-2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชา) (สพร.).

สุนันท์ สีพาย. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(2). 246-263.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70:20:10 Learning Model. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

American Library Association (ALA) (2012). Digital Literacy, Libraries, and Public Policy. American Library Association. Retrieved 10 October 2024. From https://www.ala.org/

Martin, A., & Grudziecki, J. (2006). DigEuLit: Concepts and tools for digital literacy development. Innovation in Teaching and Learning in Information and Computer Sciences. 5(4). 249–267.
Published
2025-03-28
How to Cite
ภารไสว, สุรัติ; สริวัฒน์, ลักขณา. โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 106-120, mar. 2025. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2729>. Date accessed: 03 may 2025.
Section
บทความวิจัย