ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
ETHICAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KHON KAEN
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือครู จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเคารพ, ความเป็นพลเมืองดี, ด้านความรับผิดชอบ, ด้านความยุติธรรม, ด้านความไว้วางใจ และด้านความซื่อสัตย์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14, 4.14, 4.10, 4.10, 4.09 และ 4.05 ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ตามการรับรู้ของครูที่มีเพศ และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ครูที่มีเพศต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this research were as follows: 1) to study the level of ethical leadership of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Khon Kaen; and 2) to compare the ethical leadership of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Khon Kaen along with the opinions of teachers with different sex and work experience. The target group was teachers, totaling 341 people. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance.
The results of the research were as follows: 1) The level of ethical leadership of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Khon Kaen, in overall was in high (=4.11). While considering each aspect, aspects of respect, aspect of Citizenship, aspect of responsibility, aspect of justice, aspect of Trust and aspect of Honesty were at the high level (X̅=4.14, X̅=4.14, X̅=4.10, X̅=4.10, X̅=4.09 and X̅=4.05), respectively. 2) The result of comparing ethical leadership of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Khon Kaen along with teachers’ opinion with different sex and work experience found that teachers with different sex and work experience had no statistically different opinion significant at 0.05.
References
ชัชวาล แก้วกระจาย. (2564). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(3). 54-67.
นพรัตน์ อิสระณรงค์พันธ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยการศึกษา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
นรินทร์ เทพศิริ. (2565). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตปียมิตร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 18(1). 22-36.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พระมหาศุภชัย สุภกิจโจ. (2565). หลักพุทธศาสนาเพื่อการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ เค.แอนด์.เค.เซ็นเตอร์กรุ๊ป.
ภิรมณ์ญา มูลเมือง. (2567). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 5(1). 12-23.
วีรภัทร โชติยะปุตตะ. (2567). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 25(2). 1613-1624.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2567). รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2567. จาก https://www.kksec.go.th/2566/view_news.php?id=1838
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อภิรักษ์ ทองโชติ. (2566). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(3). 84-97.
อาณัติ ปรมาธิกุล. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารการวิจัยและการบริหารการศึกษา. 23(2). 65-78.
อาอีชะห์ สงเดช. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดพัทลุง. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Bass, B. M. (1997). Does the Transactional-Transformational Leadership Paradigm Transcend Organizational and National Boundaries. American Psychologist. 52(2). 130-139.
Brown, R. A. (2007). English proficiency as a contingency of self-worth among Japanese university students. Information and Communication Studies. 37. 17-24.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York : Harper and Row.
Josephson, M. (1992). Ethics: Easier Said Than Done. The Josephson Institute of Ethics. 19(20). 80-81.