ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE HIGH - PERFORMANCE ORGANIZATION OF SCHOOL UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1

  • กมลชนก ไชยกุมาร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ยุวธิดา ชาปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 310 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน และครู จำนวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.872 และ 0.855 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก 2) องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 คือ ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม ด้านการทำงานเป็นทีมและด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง โดยตัวแปรทั้ง 4 ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด   เขต 1 ได้ร้อยละ 88.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรมแนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการสร้างความผูกพันของศิษย์เก่า คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสหศาสตร์. 21(2). 46-61.

ธัญญวรรณ บุญมณี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 10(2). 364-378.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปนัดดา ทีบัวบาน. (2567). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 6(1). 352-366.

พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรมจากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุ เดชะรินทร์. (2549). การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ : วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

เรืองยศ แวดล้อม. (2556). การบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565. จาก http:// lek56.edublogs.org/2014

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศริญญา ผันอากาศ. (2565). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การขีดสมรรถนะสูงโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(1). 52-63.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566. จาก https:// roiet1.go.th/?page_id=2822

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุรีพร อย่างสวย. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2). 2089-2104.

Lawler, E. E., Mohrman, S. A., & Benson, G. (2001). Organizing for High Performance: Employee Involvement, TQM, Reengineering, and Knowledge Management in the Fortune 1000. San Francisco : Jossey-Bass.

Yamsuda, T. (2018). Knowledge Management: A Tool for Learning Organizations and High- Performance Organizations. Naval Medical Journal. 45(1). 170-181.
Published
2025-03-26
How to Cite
ไชยกุมาร, กมลชนก; ชาปัญญา, ยุวธิดา. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 77-91, mar. 2025. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2721>. Date accessed: 03 may 2025.
Section
บทความวิจัย