การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
DEVELOPMENT OF TEACHER COMPETENCY STRENGTHENING PROGRAM OF ACTIVE LEARNING MANAGEMENT OF SMALL PRIMARY SCHOOL UNDER THE OFFICE OF SISAKET PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 2
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 266 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบกิจกรรมและจัดทำแผนการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ การใช้ พัฒนาสื่อ และแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ และ 2) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 1) แนวคิดของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เนื้อหา 4) กิจกรรม และกระบวนการพัฒนา และ 5) การประเมินผล มี 4 โมดูล คือ 1) การออกแบบกิจกรรมและจัดทำแผนการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนการรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การใช้ พัฒนาสื่อ และแหล่งเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
This research aims to 1) study the current situation, the desired situation, and the necessity of active learning management for teachers in small primary schools under the office of Sisaket primary education service area 2 and 2) design and evaluate a program to enhance the competency of active learning management for teachers in small primary schools under the office of Sisaket primary education service area 2. This research was a mixed-methods study. The sample consisted of 266 teachers, selected by stratified random sampling; 3 informants; and 5 experts. The research instruments included questionnaires, interview forms, and assessment forms. The statistics used for data analysis included percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the necessity index (PNIModified).
The results of this study were as followings: 1) The general state of affairs is currently modest. All things considered; the ideal state is at its peak. Additionally, learner-centered learning management, media use, learning evaluation, activity design and learning plan preparation, and learning resource development are the essential demands, in order of least importance. 2) The program's components include 1) program idea, 2) program objectives, 3) material, 4) activities and development process, and 5) assessment. Its goal is to improve the active learning management skills of teachers in small primary schools. Learner-centered learning management, media use and learning resource development, learning measurement and assessment, and activity design and learning plan preparation are the four components. The findings of the assessment of the program's suitability and viability.
References
ชรินรัตน์ สีเสมอ และคณะ. (2555). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(1). 30-38.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2552). การสรรหาคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วีพริ้น.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ active learning. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จํากัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2564 (IMD 2021). สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566. จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1985-file.pdf
สุมิตรา พงศธร. (2550). สรุปเรื่องของหลักสูตร. สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2(79). 15-23.
Boone, E.I. (1992). Developing Programmer in Adult Education. New Jersey : Practice Hall.
Caffarella, R. (2002). Planning Program for Adult Learner: A Practice Guide for Educators, Trainer and Staff Developer. San Francisco : Jossey-Bass Publisher.
Charney, C. and Conway, K. (2005). The trainer's tool kit. New York : AMACOM.