การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

THE DEVELOPMENT PROGRAME TO ENHANCE DIGITAL LEADERSHIP OF TEACHERS IN THE MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • อรจิรา ปะติตัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธัชชัย จิตรนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
และความต้องการจําเป็นของภาวะผู้นําดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และ 2) ออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 305 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นําดิจิทัลของครู อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นําดิจิทัลของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสอนบูรณาการดิจิทัล ด้านการประยุกต์ใช้ดิจิทัล ด้านการบริหารทรัพยากรดิจิทัล และด้านการสื่อสารดิจิทัล ตามลำดับ และ 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําดิจิทัลของครู ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ การบริหารทรัพยากรดิจิทัล การสอนบูรณาการดิจิทัล การประยุกต์ใช้ดิจิทัล และการสื่อสารดิจิทัล 4) กิจกรรมพัฒนา ได้แก่ การเรียนรู้ออนไลน์ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการบูรณาการกับการปฏิบัติงานจริง 5) การวัดผลและประเมินผล โดยผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก


This research aims to 1) Study the current status, desired status, and the necessity of digital leadership of teachers under the Office of the Primary Educational Service Area 2, Mahasarakham Province and 2) Design and evaluate the program to enhance digital leadership of teachers under the Office of the Primary Educational Service Area 2, Mahasarakham Province. The sample group consisted of 305 teachers, selected by stratified random sampling, and 5 informants. The research instruments were questionnaires, interview forms, and assessment forms. The statistics used for data analysis included percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the necessity index (PNIModified).


The results of this study were as followings: 1) The current status of digital leadership of teachers is at a moderate level. The desired status of digital leadership of teachers is at the highest level. The priority of the needs from most to least are: digital integrated teaching, digital application, digital resource management, and digital communication, respectively. 2) The program to enhance digital leadership of teachers consists of 1) principles, 2) objectives, 3) content, consisting of 4 modules: digital resource management, digital integrated teaching, digital application, and digital communication. 4) development activities: online learning, practical training, and integration with actual work. 5) measurement and evaluation. The results of the evaluation of the program's suitability are at the highest level and its feasibility is at a high level.

References

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวี จันทร์เติม. (2561). พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2561). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

รัชนี กัลยาวินัย และอัจฉรา ธารอุไรกุล. (2545). การวิเคราะห์และออกแบบระบบสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัทการศึกษา จำกัด.

วัชราภรณ์ แสงทิตย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2565). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(4). 216-224.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2559). เทคโนโลยีสารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุมิตรา พงศธร. (2550). สรุปเรื่องของหลักสูตร. วารสารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 7(9). 15-23.

Barnett Berry. (2019). Teacher leadership : Prospects and promises. SAGE Journals. 100(7). 18-23.

Barr, D., Harrison, J., & Conery, L. (2011). Computational Thinking: A Digital Age Skill for Everyone. Learning and Leading with Technology. 38(6). 20-23.

Bob Johansen. (2020). NAVIGATING A VUCA World. Retrieved 6 October 2023. From https://www.vuca-world.org/

Boone, E.J.(1992). Developing Programs in Adult Education. Illinois : Waveland Press, Inc.

Caffarella, R. (2002). Planning Programs for Adult Learners. 2nd ed. San Francisco, CA : Jossey-Bass.

INTEF's for Teacher Digital Competence. (2020). Improving future teachers' digital competence using active methodologies. Journal of new Approaches in Educational Research 2020. 9(2). 275-293.

Kaganer, E., Sieber, S. & Zamora, J. (2014). The 5 keys to a Digital Mindset.
Retrieved 25 May 2023. From http://www.forbes.com/sites/ies
e/2014/03/11/the-5- keys-to-a-digital-mindset/2/#47 c6c5 e94f5f

Redecker y Punie. (2017). Competence areas and competencies of the European Framework of Digital Competence for Teachers Dig Comp Edu. Publications Office of the European Union : Luxembourg.

UNESCO. (2011). UNESCO ICT Competency Framework for Teachers. Retrieved 3 June 2023. From http://unesdoc.unesco.org/images/0021/002134 /213475e.pdf
Published
2025-03-12
How to Cite
ปะติตัง, อรจิรา; จิตรนันท์, ธัชชัย. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 35-47, mar. 2025. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2714>. Date accessed: 03 may 2025.
Section
บทความวิจัย