การพัฒนาทักษะเคลื่อนไหวพื้นฐานนาฏศิลป์ไทย โดยประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียน ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับ E-book สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
DEVELOPING BASIC MOVEMENT SKILLS IN THAI DANCE APPLYING LEARNING OF ACTIVITIES ACCORDING BASS ON DAVIES INSTRUCTIONALAL MODEL WITH AN E-BOOK FOR GRADERS 4 STUDENT
Abstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะด้านปฏิบัติท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเดวีส์ร่วมกับ E-book สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาทักษะการปฏิบัติท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเดวีส์ร่วมกับ E-book กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาขอนแก่น อำเภอในมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะปฏิบัติท่ารำ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะด้านปฏิบัติท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเดวีส์ร่วมกับ E- book มีประสิทธิภาพ เท่ากับ (76.17/86.00) ซึ่งมีประสิทธิภาพสตามเกณฑ์ (75/75) 2) นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติท่ารำ และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ทักษะปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 81.58 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเดวีส์ร่วมกับ E- book โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.56 , S.D. = 0.26)
This research aims to 1) develop an effective learning activity for teaching basic Thai dance performance skills by applying Davies Instructional Model combined with an E-book for Grade 4 students, achieving the efficiency criteria of 75/75, 2) examine the students' performance skills in basic Thai dance; and 3) study the students' satisfaction with the learning activities using Davies Instructional Model combined with E-book media. The study group consisted of 38 Grade 4 students from Mahathai Suksa Khon Kaen School, located in Mueang District, Khon Kaen Province. The research instruments included lesson plans for learning activities, a performance skills assessment form, and a satisfaction questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation.
The findings revealed that : 1) The efficiency of the learning activities for basic Thai dance performance skills using Davies Institutional Model with an E-book was = 76.17/86.00 which exceeded the set criteria of 75/75, 2)The students' performance skills in basic Thai dance after learning surpassed the set criteria, achieving 81.58%, 3)The students expressed the highest level of satisfaction with the learning activities using Davies Instructional Model combined with E-book media, with an overall satisfaction score of (X̅= 4.56 , S.D. = 0.26).
References
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีณา ถมยากูล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวในรายวิชานาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 20(2). 347-359.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-book หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ : ฐานบุคส์.
โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาขอนแก่น. (2565). รายงานงานวัดและประเมินผล ประจำปีการศึกษา 2565-2566. ขอนแก่น : โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาขอนแก่น.
วรายุทธ มะปะทัง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง พื้นฐานนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิมลศรี อุปรมัย. (2555). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตร เทพวงษ์. (2548). นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา – อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.