การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES USING COLLABORATIVE LEARNING, CIRC TECHNIQUE TO PROMOTE ACADEMIC ACHIEVEMENT IN THAI LANGUAGE OF GRADE 3 PRIMARY SCHOOL STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพระเจ้า (ศรีมหาธาตุ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 8 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) สถิติพื้นฐาน ได้แก่ (1) ค่าเฉลี่ย (2) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (3) ร้อยละ 2) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ (1) ค่าอัตราส่วนร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของคะแนนระหว่างเรียนกับค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (2) ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ของเครื่องมือ (3) ค่าอำนาจจำแนกแบบอิงเกณฑ์ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ข้อ 30 ข้อ โดยใช้สูตรของเบรนแนน (4) ความยากง่ายของแบบทดสอบ (5) หาค่าความเชื่อมั่น ของแบบทดสอบอิงเกณฑ์โดยใช้สูตรของโลเวทท์ (6) การเรียงลำดับข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ให้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.06/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนมีค่า X̅ = 19.75 , S.D. = 1.28 คิดเป็นร้อยละ 65.83 หลังเรียนมีค่า X̅ = 26.25 , S.D. = 1.03 คิดเป็นร้อยละ 87.50 เห็นได้ว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค CIRC มีค่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก
This research aimed to 1) develop learning activities using cooperative learning, CIRC technique, with efficiency according to the criteria of 80/80, 2) compare the academic achievement of CIRC cooperative learning of grade 3 students before and after studying, 3) study learner satisfaction using CIRC cooperative learning. The target group was grade 3 students at Ban Phra Chao School (Sri Mahathat), semester 2, academic year 2023, Roi Et Primary Educational Service Area Office 1, 1 room, 8 students. Research instruments included: 1) 12 learning management plans, 1 hour per plan, 2) Academic achievement test, 3) Satisfaction questionnaire. Statistics used in the research 1) Basic statistics: (1) mean (2) standard deviation (3) percentage 2) Statistics used in the analysis of the quality of the instruments: (1) percentage ratio of the average score during the study and the percentage of the average score after the study (2) IOC index of the instruments (3) Criterion-referenced discrimination power of the achievement test, 30-item multiple choice type, 3 choices, using Brennan's formula (4) Test difficulty (5) Find the reliability of the criterion-referenced test using Lovett's formula (6) Data sorting.
The research results found that 1) activities of learning using collaborative learning, CIRC technique, had an efficiency of 94.06/82.50 which was in accordance with the specified criteria, 2) compare the learning achievement results writing words according to the spelling rules using collaborative learning, CIRC technique of primary 3 students before learning X̅ = 19.75, S.D.= 1.28 accounting for 65.83 percent. After learning X̅ = 26.25, S.D.= 1.03 accounting for 87.50 percent. It can be seen that after learning is higher than before learning. 3) The satisfaction of students using collaborative learning by CIRC technique, has an overall value at a high level.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัณณ์ภัสสร์ ทำประดิษฐ์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมจร อุบลปริทรรศน์. 6(2). 607-616.
บุญปารถนา มาลาทอง และคณะ. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 1(1). 25-38.
ประสพสุข ฤทธิเดช. (2559). นวัตกรรมการศึกษาการสอนภาษาไทย. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
เมธี อนันต์. (2566). คุณภาพห้องเรียนชายขอบ : โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา. วารสารนิสิตวัง. 25(1). 120-128.
โรงเรียนบ้านพระเจ้า (ศรีมหาธาตุ). (2565). รายงานการประเมินตนเอง Self-Assessment Report : SAR ประจำปีการศึกษา 2565. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนบ้านพระเจ้า (ศรีมหาธาตุ).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สิริรัตน์ บุญพูล. (2562). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการบูรณาการการอ่านและการเขียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 9(1). 408-418.