การพัฒนาการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชนในการพัฒนาครูในพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ฉะเชิงเทราเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป
DEVELOPMENT OF ONLINE TEACHING IN AN OPEN SYSTEM FOR THE PUBLIC IN DEVELOPING TEACHERS IN THE LEARNING CITY OF CHACHOENGSAO TO ENHANCE LEARNING SKILLS IN THE DIGITAL AGE FOR TO THE NEXT NORMAL
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน 2) เพื่อพัฒนารายวิชาสำหรับการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน 3) เพื่อศึกษาหาประสิทธิภาพของการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในโรงเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 303 คน จากนั้นพัฒนารายวิชาตามความต้องการของครูและหาประสิทธิภาพ E1/E2 ของสื่อการสอนจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งพิจารณาจากครูที่มีประสบการณ์ในการเรียนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชนมีความต้องการเรียนในรายวิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 22.11 รองลงมาคือวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ตามลำดับ 2) การพัฒนารายวิชาสำหรับการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและเป็นไปตามมาตรฐานของระบบ Thai MOOC และ 3) ดำเนินการหาหาประสิทธิภาพของการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.18/81.63 แสดงว่ารายวิชาการสอนภาษาและวรรณกรรมไทยระดับมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นเป็นบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด (Thai MOOC) มีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ คือ 80/80 เป็นการสอนออนไลน์ที่สามารถเสริมสร้างทักษะการเรียนในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ฐิติมา จันทะคีรี. (2565). การเรียนการสอนออนไลน์ในยุคดิจิทัล. Journal of Modern Learning Development. 7(10). 349-363.
ปริญญา น้อยดอนไพร. (2560). MOOC (มู้กส์). สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2567. จาก https://arit.sru.ac.th /news-activities/aritshare/751-MOOC.html
พิบูลย์ ตัญญบุตร พรรณรายณ์ ทรัพย์แสนดี และจิราภรณ์ พจนาอารีย์วงศ์. (2566). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 13(1). 1-17.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. (2566). จำนวนครูและบุคลากร จำแนกเพศ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2567. จาก https://bigdata.ccs.go.th/teachers
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). กรุงเทพฯ : สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
สิริกัญญา มณีนิล และศศิฉาย ธนะมัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ที่มีลีลาการเรียนรู้แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 13(1). 15-29.
อาลียะห์ มะแซ ซามียะห์ บาเละ และไซนีย์ ตำภู. (2564). การพัฒนาบทเรียนภาษามลายูสำหรับนักเดินทางในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด Thai-MOOC วิชาภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราขภัฏยะลา. 16(1). 258-266.
Longworth, N and Davies, W.K. (1996). Lifelong Learning. London : Routledge.
Support Thai MOOC. (2024). MOOC คืออะไร?. Retrieved 5 August 2024. From https://support.thaimooc.org/helpcenter/articles/77/mooc
Yamane, Taro. 1973. Statistics an introductory analysis. New York : Harper & Row.