ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
TECHNOLOGY LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE AFFECTIVE OF TEACHER LEARNING MANAGEMENT IN THE DIGITAL AGE UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล และ 4) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถาม ตอนที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .981 และแบบสอบถาม ตอนที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัลมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีด้านการเรียนการสอนกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก ส่วนด้านที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 คือ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีด้านการเรียนการสอน (X3) ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี (X1) และด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร (X4) โดยตัวแปรทั้ง 3 ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล ได้ร้อยละ 45.10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to study 1) the technology leadership of school administrators, 2) the efficiency of teacher learning management in the digital age, 3) the relationship between the technology leadership of school administrators and the efficiency of teacher learning management in the digital age and 4) the technology leadership of school administrators that affects the efficiency of teacher learning management in the digital age under the Roi et Primary Educational Service Area Office 3. The samples comprised 317 school administrators and teachers. Research instrument for collecting the data was a five - point rating scale questionnaire, questionnaire part 2 had reliability of all documents equal to .981 and questionnaire part 3 had reliability of all documents equal to .961. Statistical analysis of the data involved percentage, mean, standard deviation and correlation of Pearson Product Moment. Stepwise multiple regression was employed to test the hypothesis.
The findings of the research revealed that; 1. The technology leadership of school administrators under the Roi et Primary Educational Service Area Office 3 as an overall was a high level. 2. The efficiency of teacher learning management in the digital age under the Roi et Primary Educational Service Area Office 3 as an overall was a high level. 3. The relationship between the technology leadership of school administrators and the efficiency of teacher learning management in the digital age under the Roi et Primary Educational Service Area Office 3 were found that moderate positive relationship as follows : The highest rate is the supporting use of technology in teaching and learning and the efficiency of teacher learning management in the digital age and the lowest is the technological vision and the efficiency of teacher learning management in the digital age with statistical significance at the .01 level. 4.The technology leadership of school administrators that affects the efficiency of teacher learning management in the digital age under the Roi et Primary Educational Service Area Office 3 ; the supporting use of technology in teaching and learning (X3), the technological vision (X1) and the using technology in management (X4). These predictors could affect and predict 45.10 percent of the efficiency of teacher learning management in the digital with statistical significance at the .01 level.
References
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ ข้าวฟ่าง จํากัด.
พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรม การเรียนรู้และเทคโนโลยี. 1(2). 1-6.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Digital Learning. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรม
หลักสูตรและการเรียนรู้.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3. ร้อยเอ็ด : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2558). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (MIL) ในยุคดิจิตอล. กรุงเทพฯ : กสทช.