การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูตามแนวคิดเชิงรุก สำหรับพระสอนในสำนักศาสนศึกษาการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

DEVELOPING A TRAINING CURRICULUM TO ENHANCE TEACHING PROFESSIONAL COMPETENCY ACCORDING TO THE PROACTIVE CONCEPT FOR TEACHING MONKS IN THE RELIGIOUS EDUCATION CENTER, PARIYATHAM EDUCATION, PALI DEPARTMENT

  • นีรนาท จุลเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
  • สุชาติ คุ้มสุทธิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูตามแนวคิดเชิงรุก 3) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูตามแนวคิดเชิงรุก 4) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม และ 5) รับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูตามแนวคิดเชิงรุก สำหรับพระสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี จำนวน 100 รูป รวมทั้งสิ้น 54 ชั่วโมง ในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินความพึงพอใจของพระสอนปริยัติธรรมต่อหลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงรุก และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสอนปริยัติธรรมมีความต้องการที่จะได้รับการฝึกอบรมจากหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้น เนื่องจากพระสอนปริยัติธรรมยังขาดความรู้ และไม่มีประสบการณ์ในการสอน ไม่มีเทคนิคและกระบวนการในการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูตามแนวคิดเชิงรุก การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีคำแนะนำให้ปรับปรุงบางประเด็นโดยภาพรวม มีความเหมาะสมและการประเมินคุณภาพ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีหน่วยการเรียนรู้ 9 หน่วย ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับพระสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี มีการทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม ด้วยระบบออนไลน์ จำนวน 6 ชั่วโมง โดยมีการประเมินผลหลังจบหน่วยการเรียนรู้ และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นการฝึกอบรมหลังจาก 3 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของพระสอนปริยัติธรรม 4. การประเมินประสิทธิผลหลังการหลักสูตรฝึกอบรม ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจ มีผลต่างคิดเป็นร้อยละ 30.22 ในการออกแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับดี ในการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับดี ความพึงพอใจของพระสอนปริยัติธรรมต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของนักเรียน 39 คน ต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงรุก อยู่ในระดับมาก 5. การรับรองหลักสูตรฝึกอบรม ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 9 คน เห็นด้วยทุกประเด็นและรับรองว่า สามารถนำไปใช้ฝึกอบรม ทั้งนี้หลักสูตรฝึกอบรมทำให้พระสอนปริยัติธรรมมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ และหลักสูตรฝึกอบรมสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนให้พระสอนปริยัติธรรมได้อย่างเหมาะสม


This research aimed to 1) study the necessity in developing a training curriculum, 2) develop a training curriculum to enhance teacher professional competence based on the proactive concept, 3) pilot the training curriculum to enhance teacher professional competence based on the proactive concept, 4) evaluate the effectiveness of the training curriculum, and 5) certify the training curriculum to enhance teacher professional competence based on the proactive concept for 100 Pauli Dharma teachers, totaling 54 hours, during October-November 2024. The research instruments were a knowledge and understanding test, an assessment of teaching design ability, an assessment of teaching management ability, an assessment of the satisfaction of the monks teaching the training curriculum, and an assessment of student satisfaction with teaching management based on the proactive concept. Data analysis was performed by using the mean, standard deviation, t-test, content analysis, and data summary.


The research results found that 1. The monks who teach Pavarotti Dharma want to receive training from the developed training course because they lack knowledge and experience in teaching. They do not have teaching techniques and processes. The overall results are at a high level. 2. The training course to enhance the professional competence of teachers according to the proactive concept found that the content validity check had a consistency index of 1.00 from the expert group. There were suggestions for improvement in some issues. Overall, it was appropriate and the quality assessment was at the highest level. There were 9 learning units. The content validity check had a consistency index of 1.00. It was at the highest level of appropriateness. 3.The trial of the training course for Pauli Pavarotti Dharma monks was conducted before and after the training using the online Google Form system for 6 hours. The results were evaluated after the learning unit was completed. And when the training was completed after 3 weeks, the researcher assessed the students' satisfaction with the teaching of the monks who taught the Dharma. 4. Evaluation of the effectiveness after the training course. The results of the knowledge and understanding test There was a difference of 30.22 percent in the teaching design, which was at a good level. In the teaching management, it was at a good level. The satisfaction of the monks who taught the Dharma with the training course was at a high level and the satisfaction of the 39 students with the teaching management according to the Active Learning concept was at a high level. 5. Certification of the training course All 9 experts agreed with all points and confirmed that it can be used for training. The training course made the monks who taught the Dharma have knowledge and ability in teaching management, resulting in students having knowledge and the training course can be a guideline for developing the competence in teaching management for monks who taught the Dharma appropriately.

References

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยองกรณ์ปริทัศน์. 7(2). 45-56.

กานตยุทธ ตรีบุญนิธิ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนะสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2562). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อผู้เรียนยุคใหม่ ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566. จาก http://www.sesa.go.th/site/images/31394_Active%20L

ณิชดาพร หวานสนิท และพรรณี ผุดเกตุ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 7(2). 127-142.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาพร กุลสมบูรณ์ และสุวิมล ว่องวานิช. (2565). Active Learning: จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนสู่ปรัชญาและทฤษฏีรากฐาน ตั้งทิศให้ถูกเพื่อไม่ทิ้งครูให้หลงทางอีกต่อไป. คุรุสภาวิทยาจารย์. 3(2). 1-17.

พระราชวรเมธี และคณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. สืบค้น 21 มกราคม 2566. จาก http://www.buddhism4. com/web/ download/book%201.pdf

วราวุฒิ มั่นสุขผล. (2557). การพัฒนารูปแบบการอบรมออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Published
2025-04-23
How to Cite
จุลเนียม, นีรนาท; คุ้มสุทธิ์, สุชาติ. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูตามแนวคิดเชิงรุก สำหรับพระสอนในสำนักศาสนศึกษาการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 160-174, apr. 2025. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2631>. Date accessed: 03 may 2025.
Section
บทความวิจัย