การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตร เรื่องศาสตร์พระราชา ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์

DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT IN AGRICULTURAL SUBJECTS THE STORY OF ROYAL SCIENCE WITH THE INQUIRY-BASED LEARNING PROCESS (5ES) COMBINED WITH CONCEPT MAPS

  • เกษร เพ็งชาวัด คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • แสงเดือน คงนาวัง คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตร เรื่องศาสตร์พระราชา ของนักเรียนโชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์ 2) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชางานเกษตร เรื่องศาสตร์พระราชาด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชางานเกษตร ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 แผน รวม 14 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตร (ศาสตร์ของพระราชา) เนื้อหาการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ศาสตร์ของพระราชา (เศรษฐกิจพอเพียง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปุ๋ยกับการทำเกษตรอย่างยั่งยืน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การปลูกผักปลอดสารพิษ แบบทดสอบจำนวนที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที แบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชางานเกษตรด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.57


This research, on the other hand, aims to 1) bring about success according to the consideration level 2 in the content of agricultural work for the investigative learning process (5Es), gather concepts, 2) study and answer student questions. In the 2nd class, every time we managed to learn the work of agriculture and the sputum learning process (5Es) full of concepts, the research plan used was a sample group of class presidents and questions for the 2nd day at Khamsaen Wittayasan School, one classroom with a total of 36 students. The research tools were learning management plans in agriculture subjects. by using the inquiry-based learning process (5Es) together with concept maps of Mathayomsuksa 2 students, totaling 7 plans, totaling 14 hours. A test to measure learning achievement in agriculture subjects learning activity content Learning Unit 1: Science of the King (Sufficiency Economy) Learning Unit 2: Fertilizers and Sustainable Agriculture Learning Unit 3 Planting organic vegetables The number of tests created by the researcher consisted of 40 items and the satisfaction questionnaire 20 items. The statistics used in data analysis was percentage, mean, standard deviation and value t-test for dependent.


The research findings were as follows: 1. Learning achievement in agricultural work of Mathayomsuksa 2 students after school was higher than before school. After learning by using the inquiry learning process (5Es) with a concept map, significance at .05. 2. Satisfaction of Mathayomsuksa 2 students towards teaching and learning in agricultural subjects by using the inquiry learning process (5Es) together with the concept map was at the highest level. of 4.57 levels.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : กระทรงศึกษาธิการ.

ชมพูนุท ยุติธรรม. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้กับการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 9(1). 1-10.

ไพศาล วรคำ. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์. (2565). งานวัดผลการศึกษา. หนองบัวลำภู : โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุวิมล นิ่มดวง. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อรทัย แก่นจันทร์ และคณะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุไรวรรณ ปานีสงค์ และคณะ (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิค การจัดแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. นครศรีธรรมราช : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

Stefanie. (2020). An inverted classroom integration learning approach with 5E inquiry-based instruction using digital tools through a virtual classroom to teach mathematics. Academic articles in scientific studies. 4(2). 279-288.
Published
2023-11-06
How to Cite
เพ็งชาวัด, เกษร; คงนาวัง, แสงเดือน. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตร เรื่องศาสตร์พระราชา ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) ร่วมกับผังมโนทัศน์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 345-355, nov. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2617>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย