รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

A MODEL EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATION USING SCHOOL AS A BASE TO RAISE THE QUALITY OF EDUCATION OF BANNONSOMBOON SCHOOL BURIRAM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 4

  • ลำดวน ชาวไธสง โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 19 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เลือกแบบเจาะจง 2) สร้างรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน โดยสมัครใจ และ 4) ประเมินรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสอบถามความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็น ลำดับที่ 1 ด้านการกระจายอำนาจ 2) โรงเรียนเป็นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ประกอบด้วย 5 ส่วน 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการแนวคิดและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 วิธีดำเนินการ ส่วนที่ 3 กลไกการบริหารจัดการ ส่วนที่ 4 แนวทางการประเมิน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนและพฤติกรรมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4) รูปแบบฯ มีความเหมาะสมและความเป็นเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


The purposes of this research were to study basic information for creating an educational institution administration model using the school as a base to raise the quality of education at Bannonsomboon school, Buriram Primary Educational Service Area Office 4, this research used the entire population was 19 teachers, educational personnel and the basic education commission, and the group of informants in study the guidelines for creating a model 6 experts, by purposive sampling. 2) set a model, the informant group consisted of 9 experts selected by purposive sampling. 3) implement a model, the target group is 10 teachers and educational personnel, by willing and 4) assessment a model, the group of informants were 30 school administrators, by purposive sampling. tools used in data collection including component suitability questionnaire, the current condition questionnaire has a reliability value of 0.93. the desired condition questionnaire has a reliability value of 0.95, interview form, connoisseurship issue, suitability and feasibility questionnaire, quiz, behavior observation form, questionnaire on appropriateness and usefulness, and satisfaction questionnaire. statistics used in data analysis are percentage. average and standard deviation and priority needs index.


The results were as follows: 1) basic information includes; current condition at medium level, desirable condition at the highest level, and the number one need for decentralization. 2) a model educational institution administration using school as a base to raise the quality of education of Bannonsomboon school, Buriram Primary Educational Service Area Office 4, consists of 5 parts: part 1 principles and objectives, part 2 procedure, part 3 management mechanism, part 4 evaluation, and part 5 success conditions. assessment results on appropriate and feasible at the highest level.  3) results implement target group is a knowledge assessment score before participating in development. after joining the development higher than the knowledge assessment score before participating in the development passed the evaluation criteria. the level of behavior after development is higher than before development. and satisfaction is at the highest level. 4) a model is suitability and usefulness at the highest level.

References

คำปิ่น ทีสุกะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม. นครพนม : โรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม.

จำเนียร ไตรมาตร อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ ชูชีพ พุทธประเสริฐ เกียรติสุดา ศรีสุข. (2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 14(1). 23-34.

จิระภา ธรรมนําศีล. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวี สมนอก. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นุจนาฎ สาริบุตร. (2561). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15(2). 259-543.

ปฏิญญา ศรีสุข. (2563). แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์. (2565). รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ปีการศึกษา 2564. บุรีรัมย์ : โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

สายฟ้า หาสีสุข และรพีพรรณ ปรีชา. (2566). SBM พื้นฐานความสำเร็จของการศึกษายุคใหม่. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 3(1). 77-86.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการ ทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : โรงพิมพ์สารคามการพิมพ์.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2005). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. New York : McGraw- Hill.

Yin Cheong Cheng. (1996). School Effectiveness and School-based management: A Mechanism for Development. Washington, D.C. : The Falmer Press.
Published
2024-09-06
How to Cite
ชาวไธสง, ลำดวน. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 305-319, sep. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2616>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย