การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
DEVELOPMENT OF GUIDELINES FOR THE STUDENT COUNCIL ACTIVITIES IN SCHOOLS UNDER THE KALASIN SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน และ 2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 321 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของการดำเนินงานกิจกรรมสภา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่คาดหวังของการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน ลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การสร้างจิตอาสาหรือจิตสำนึกสาธารณะ การประเมินการจัดกิจกรรมสภานักเรียน การบูรณาการกิจกรรมสภานักเรียนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะผู้นำ การสร้างเครือข่ายหรือการมีส่วนร่วม และการพัฒนาทักษะการประชุม และ 2) แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ การพัฒนาทักษะผู้นำ การพัฒนาทักษะการประชุม การสร้างเครือข่ายหรือการมีส่วนร่วม การสร้างกิจกรรมจิตอาสา การบูรณาการกิจกรรมสภานักเรียนเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการประเมินผลการจัดกิจกรรมสภานักเรียน โดยผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
This research aims to 1) Study the actual conditions, expected conditions and needs of student council activities and 2) develop guidelines for student council activities in schools under the Kalasin Secondary Educational Service Area Office. The sample group consisted of 321 administrators and teachers, obtained by stratified random sampling, and there were 6 informants. The research instruments included questionnaires, interview forms, and assessment forms. The statistics used for data analysis included percentages, arithmetic means, standard deviations, and Priority Needs Index (PNI).
The results of this study were as followings: 1) the current state of the operation of the council activities was at a moderate level, and the desirable state of the operation of the student council activities was at the highest level. The necessities for the operation of the student council activities, in order from highest to lowest, were: creating volunteerism or public awareness, evaluating the organization of student council activities, integrating student council activities with learning groups, developing leadership skills, building networks or participation, and developing meeting skills. 2) The guidelines for the operation of student council activities consisted of 6 activities: developing leadership skills, developing meeting skills, building networks or participation, creating volunteer activities, integrating student council activities with learning groups, and evaluating the organization of student council activities. The results of the evaluation of the appropriateness and feasibility of the guidelines for the operation of student council
References
กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2535). การบริหารกิจการนักเรียน เล่ม 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เจ. เอส. การพิมพ์.
จินตนา โพธิ์คำ. (2553). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567. จาก http://www.Jintanapapho.igetweb.com
ชนาธิป สำเริง. (2560). รายงานการวิจัย แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานสภานักเรียนที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
ทวีศักดิ์ นามศรี. (2555). การศึกษารูปแบบการบริหารและการจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 6(13). 91-105.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
ประกอบ สาระวรรณ. (2548). การนำเสนอรูปแบบสภานักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิมพ์ใจ การัตน์. (2557). การมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วลัยพร พรพงศ์. (2556). วิธีการพัฒนาประชาธิปไตยแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณีสถานศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 32(1). 67-75.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2555). มือสภานักเรียน ปีการศึกษา 2555. ปทุมธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ศรีสะเกษ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2566). กิจกรรมสภานักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมสภานักเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน. (2567). โครงการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือสู่ศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน.
สุดารัตน์ พิมพ์บุตร. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของสภานักเรียนบ้านน้อมถวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). เอกสารคำสอน รายวิชา 0501 702 หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.