บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
THE ROLE OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN PROMOTING LEARNING MANAGEMENT USING LOCAL WISDOM UNDER SONGKHLA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 291 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา จากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกตามเพศ อายุ ประการณ์การทำงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน วุฒิการศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และขนาดสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) ผู้บริหารควรเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวยการการเรียนรู้ สนับสนุนครูในการวัดและประเมินผลอย่างมีระบบ ร่วมมือกับบุคลากรในสถานศึกษาในการวางแผนและสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน สนับสนุนครูให้ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ให้ความสำคัญกับการนิเทศภายใน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา
References
จุรีพร นิลแก้ว, สมใจ สืบเสาะ. (2566). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 7(1). 83–98.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(1). 1-9.
ชุติมาพร เชาว์ไว. (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 3(1). 1-10.
ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 4(4). 41–50.
ปรัชญา กาดีโลน. (2561). บทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ปิยาภรณ์ พูลชัย. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เปรมประพัทร นิ่มน้อย. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารรามคำแหง. 2(1) 1-11.
ฝาริด หมันหลี. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างแรงจูงใจการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดกระบี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
มลวิภา ชนะทิพย์. (2567). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดลำพูน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 9(1). 1-12.
รัชณี ดวงแก้ว วินัย ทองมั่น และวิรัช จงอยู่สุข. (2565). แนวทางการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารวิจัยวิชาการ. 5(3). 1-16.
วัฒนชัย บุญสนอง. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนตามการรับรูของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และชลธิชา หอมฟุ้ง. (2561). การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 11(3). 2551–2563.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 (2567). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาการศึกษาสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2567. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2567. จาก https://www.ska1.go.th/files/com_content/202312/20231227
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2570. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ฮำดัน สาอุ. (2565). การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสุคิรินสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Sample size determination table. Educational and psychological Measurement. 30(3). 607-610.