การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกการอ่าน

THE DEVELOPING OF ENGLISH READING COMPREHENSION ACHIEVEMENTS FOR GRADE 3 STUDENTS BY SQ4R LEARNING MANAGEMENT WITH THE READING PRACTICE

  • นรินทร นารินรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ละดา ดอนหงษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกการอ่าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกการอ่านกับเกณฑ์ร้อยละ 70  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกการอ่าน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาทม อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน  17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.43 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 – 0.60 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ ไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกการอ่าน อยู่ในระดับมาก


The objectives of this research were to 1) compare English reading comprehension achievement for Grade 3 students between before and after by SQ4R learning management with the reading practice. 2) compare English reading comprehension achievement for grade 3 students after by SQ4R learning management with the reading practice with the criteria of 70 percent. 3) study the satisfaction of Grade 3 students to word on SQ4R learning management with the reading practice. The Sample consisted of 17 grade 3 students in the second semester of the academic year 2023 at Ban Nathom School, Udonthani Province, by cluster random sampling. The research instruments were 1) lesson plans. 2) the English achievement tests had difficulty values between 0.43 - 0.80, discrimination values between 0.20 – 0.60 and reliability value was 0.74 3) the satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis comprised; mean, standard deviation, percentage, and t-test for dependent samples.


The results of this research found that ; 1) The English reading comprehension achievement of grade 3 students after learning was significantly higher than before at the .05 levels. 2) The English reading comprehension achievement for Grade 3 students after learning by SQ4R learning management was significantly higher than 70% at the .05 levels. 3) The satisfaction of grade 3 students towards on the English learning by SQ4R learning management with the reading practice at the high level.

References

ชฎารัตน์ ภูทางนา. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยวิธีสอนแบบ สื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 1 (บูรวิทยาคาร). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและขอเสนอแนะ ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ป 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร. 31 พฤศจิกายน 2561. 235-241.

ธันยกานต์ ใจบุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิคการสอนอ่าน SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธารทิพย์ แก้วเหลี่ยม. (2553). เทคนิคการสอนแบบ SQ4R. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566. จาก https://sites.google.com/site/prapasara/a3-7[]

มันทนา อุตทอง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเนินมะหาด จังหวัดจันทบุร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักดิ์สิทธิ์ แสงบุญ. (2555). การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ: อดีตสู่ปัจจุบัน. ภาษาปริทัศน์. 27(1). 89-104.

สรารัตน์ บุญญะกา, อิสรภาพ สมหารวงค์และถิรวิท ไพรมหานิยม (2565). ผลของการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กำแพงเพชร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สิรีธร สุขเจริญ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ4R ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อดิศยา ปรางทอง (2560). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องปัญหาเกี่ยวกับวัยรุ่น. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรชร วงศ์ษา. (2548). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(วิชาภาษาอังกฤษ)โดยใช้นิทานพื้นบ้านอีสานเป็นสื่อ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุษณีย์ เสือจันทร์. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียง สับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Published
2024-02-21
How to Cite
นารินรักษ์, นรินทร; ดอนหงษา, ละดา. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกการอ่าน. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 199-212, feb. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2595>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย