ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

THE EFFECTS OF COOPERATIVE LEARNING MANAGEMENT BY USING JIGSAW TECHNIQUES TO ECONOMICS SUBJICT ACHIEVEMENT OF MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS

  • พระชัชวาลย์ สอนโคตร คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ละดา ดอนหงษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุภาภร สิมลี คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างหลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค                จิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิศาลรัญญาวาส อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 รูป ได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.31 – 0.68 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35 - 0.69 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอร์ สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ อยู่ในระดับมากที่สุด


This purpure of research was to 1) compare the economics subject achievement of mathayomsuksa 5 students between after cooperative learning management by using jigsaw techniques with the criteria of 75%, 2) compare the economics subject achievement of mathayomsuksa 5 students between before and after cooperative learning management by using jigsaw techniques 3) study the satisfaction of mathayomsuksa 5 students towards on cooperative learning management by using jigsaw techniques. The sample consisted of 24 mathayomsuksa 5 students in the first semester of the academic year 2023 at Pisan Ranyawat School, Nong Bua Lamphu Province, by cluster random sampling. The research instruments were 1) the lesson plans with cooperative learning management by using jigsaw techniques 2) the economics subject achievement tests had difficulty values between 0.31 – 0.68, discrimination values between 0.35 – 0.69 and reliability value was 0.79, 3) the satisfaction questionnaire towards on cooperative learning management by using jigsaw techniques.  The statistics for data analysis comprised; mean, standard deviation and t-test for dependent samples.


The results of this research found that; 1. The economics subject achievement of mathayomsuksa 5 students after learning was significantly higher than before with cooperative learning management by using jigsaw techniques at the .05 levels. 2. The economics subject achievement of mathayomsuksa 5 students after learning was significantly higher than of 75% at the .05 levels. 3) The mathayomsuksa 5 students’ satisfaction towards on cooperative learning management by using jigsaw techniques at the highest levels.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลขา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดคิวกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สาราเด็ก.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : ที่คิวพี จำกัด.

ทิพวรรณ์ สลีอ่อน, ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. HRD Journal. 12(1). 42-55.

ภาณุพงศ์ แก้วบุญเรือง. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 3(8). 118-132.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2543). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

เอกพันธ์ โห้พันธ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์. 4(1). 93-105.

Johnson and Johnson. (1994). An Educational Psychology Success Story: Social Interdependence Theory and Cooperative Learning. Educational Researcher. 38(5). 365-371.

Johnson, D. W., Johnson, R.T., & Holubec, E. J. (1990). Circles of learning: Cooperation in the classroom. 3rd ed. Edina, MN : Interaction Book Company.

Olsen and Kagan. (1992). About Cooperative Learning in Kessler ed Cooperative LanguageLearning. A Teachers Resource Book. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.

Slavin, Robert E. (1990). Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. New Jersey : Prentice - Hall.
Published
2024-02-21
How to Cite
สอนโคตร, พระชัชวาลย์; ดอนหงษา, ละดา; สิมลี, สุภาภร. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 187-198, feb. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2594>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย