โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
THE DEVELOPMENT OF TEACHERS IN CREATIVE LEARNING MANAGEMENT PROGRAM FOR EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 และ 2) เพื่อออกแบบและประเมินโปรแกรมการพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 การดำเนินการวิจัยมีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู ด้านจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 จำนวน 359 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ระยะที่ 2 ออกแบบและประเมินโปรแกรมการพัฒนาจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำหนดเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์ สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ และการกำหนดวิธีจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และ ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การกำหนดเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์ การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ การวัดและการประเมินผล การกำหนดวิธีจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ การศึกษาความพร้อมของผู้เรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2. โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 มีผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของโปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this study aimed to 1) investigate the current conditions, desirable conditions and the necessary needs for Teacher Development in Creative Learning Management for Educational Institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 and 2) design and evaluate The Development of Teacher in Creative Learning Management Program for Educational Institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2, the research is characterized as research and development, divided into 2 phases; Phase 1: Study of the current conditions, desirable conditions and needs are necessary for Teacher Development in Creative Learning Management for Educational Institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2, The sample group included educational institution administrators and teachers under the Buriram Primary Educational Service Area Office 2, a total of 359 people were obtained using a stratified random sampling method. Phase 2: design and evaluate The Development of Creative Learning Management Program for Educational Institutions under the Buriram Primary Educational Service Area Office 2. The group of informants included 3 educational institution administrators with Best Practice by specific selection. The instruments used to collect data were questionnaires, semi-structured interviews and the assessment of suitability and possibility of the program. The statistics used to analyze the data were percentage, average, standard deviation and PNI.
The research results revealed that: 1. The current state of teacher development in creative learning management is at a high level. When considering each aspect, it was found to be at a high level in all aspects, with the highest average being organizing creative learning activities and the lowest average being creative content determination, desirable conditions for The Development of Teachers in Creative Learning Management, the overall is at the highest level. When considering each aspect, it was found to be at a high level in all aspects, with the highest average being organizing creative learning activities and determining creative learning management methods. which has the same average and order of needs in developing teachers in creative learning management Arrange the importance of essential needs from highest to lowest, including Determining the creative content, setting creative learning objectives, Measurement and Evaluation, determining creative learning management methods, studying student readiness and organizing creative learning activities, respectively. 2. The Development of Teachers in Creative Learning Management Program for Educational Institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2, has evaluated the appropriateness and feasibility of The Teacher Development for Creative Learning Management Program for Educational Institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2, by 5 experts, the overall it was appropriate and feasible at the highest level.
References
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปฐมาภรณ์ ปะการะโพธิ์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียน การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรนิษฐา เลขนอก. (2560). โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และคณะ. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566. จาก www.curriculumandlearning.com
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. บุรีรัมย์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุพัตตา พลขันธ์. (2563). โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรุโณทัย ระหา (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Darling-Hammond, L. and Lieberman, A. (2014). Teacher Education Around the World. British Educational Research Journal. 40(4). 743–745.