กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
DRIVEN STRATEGIES AND DEVELOPMENT DIGITAL COMPETENCY OF ELDERLY IN TAPONG SENIORS SCHOOL OF MUANG RAYONG
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) ทีมงานเครือข่าย จำนวน 10 คน
2) ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 90 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์เรื่องกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ของผู้สูงอายุ 2) คู่มือกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 3) แบบประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ของผู้สูงอายุก่อนเข้าร่วมกิจกรรมและหลังเข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า 1. กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้แก่ 1) กลยุทธ์เครือข่าย ทีมงานเครือข่ายมีความสมัครใจในการประสานงานเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน 2) กลยุทธ์การมีส่วนร่วม ทีมงานเครือข่ายร่วมแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการวางแผน พัฒนาสมรรถนะ ระดมทรัพยากร แก้ไขปัญหาและอุปสรรค 3) กลยุทธ์การเสริมพลังอำนาจ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในศักยภาพหรือความสามารถให้กับคณะทำงาน และ 4) กลยุทธ์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ ทีมงานเครือข่ายมุ่งสร้างความรู้และสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยการจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน 2. กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมโครงการ/การฝึกอบรมฐานสมรรถนะ โดยใช้เทคนิคการให้ความรู้ควบคู่กับการปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การใช้อุปกรณ์สมาร์ตโฟน 2) การใช้สื่ออินเทอร์เน็ต 3) ความปลอดภัยในการใช้สื่อดิจิทัล 4) การใช้แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาอาชีพ และ 5) การใช้แอปพลิเคชันเพื่อเชื่อมต่อกับสังคม 3. ผลคะแนนการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ พบว่า มีคะแนนการประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หลังเข้าร่วมกิจกรรม 22.12 สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 12.63 โดยมีคะแนนพัฒนาการโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 54.88
The objectives of this research were to study 1) strategy of driving competency development in digital technology for the elder, 2) strategy of competency development in digital technology for the elder, 3) result of competency development in digital technology for the elder. The action research was used in
this study. There are 2 target groups which are 10 persons of network team and
90 persons of elder in Taphong Subdistrict Elder School, Mueang District, Rayong Province. There are 3 research instrument which are 1) Interview in topic of strategy for digital technology competencies developing of the elder 2) instruction for
digital technology competencies developing of the elder in Taphong Subdistrict
Elder School, Mueang District, Rayong Province 3) Pre and Post assessment for digital technology competencies of the elder. The applied statistic is 1) average 2) standard deviation 3) Progress percentage.
The results are that: 1. strategy of driving competency development in digital technology for the elder were as follows: 1) Network strategy, the network team is willing to coordinate for exchange information, knowledge, and experiences with each other. 2) Participation strategy, the network team share their opinions, participate in planning, develop competencies, mobilize resources, and solve problems and obstacles. 3) Empowerment Strategy, the network team can increase confidence in their potential and abilities 4) Creating a learning process Strategy, the network team aims to create knowledge and competency in digital technology for the elder by arranging the environment, learning materials, and facilitating to the learners. 2. strategy of competency development in digital technology for the elder is that project activities/competency training by using technique of providing knowledge with practice. The technic consists of 5 plans for organizing of learning activity including 1) Using a smartphone 2) Using internet media 3) Safety in the use of digital media 4) Using the application for career development and 5) Using the application to connect with society. 3. The score of the digital technology competency development for the elder show that the score of after participating for the digital technology competency assessment at 22.12 points which is higher than before participating at 12.63 points with an overall development score of 54.88 percent.
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). การศึกษาเพื่อผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). สังคมผู้สูงอายุ. นิตยสารการศึกษาอัพเกรด. 2(092) ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม - สิงหาคม 2551.
ณัฐดนัย เนียมทอง. (2561). ความเข้าใจดิจิทัลกับผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. จาก http://gg.gg/ut9vc
ทศพนธ์ นรทัศน์. (2552). คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ.
การประชุมทางวิชาการการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในประชากรผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร. 24 ตุลาคม 2552. 8.
ศรีศักดิ์ จากมรมาน. (2552). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต.
การบรรยายสัมมนาทางวิชาการจัดโดยชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม. โรงแรมดุสิต เพลส เฟส 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร. 30 พฤษภาคม 2552. 54.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง. สืบค้นเมื่อ
10 เมษายน 2564. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
อารีย์ มยังพงษ์. (2561).รูปแบบสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.