ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
ETHICAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN PATWIT CONSORTIUM UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test Independent) สถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความเคารพ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความยุติธรรม ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในกลุ่มสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรตระหนักในหน้าที่และเต็มใจปฏิบัติงาน แสดงออกต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนด้วยความเสมอภาค เท่าเทียมกัน แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วยความสุภาพ เป็นกันเอง ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
The objectives of this thematic were 1) to study Ethical Leadership of school administrators in Patwit Consortium under Secondary Educational Service Area office Roi Et Province, 2) to compare Ethical Leadership of school administrators in Phatwit Campus under the Office of Roi Et Secondary Educational Service Area, classified by position, education level, and work experience 3) to suggest guidelines for developing ethical leadership of school administrators in Phatwit Campus under the Office of Roi Et Secondary Educational Service Area. The sample group consisted of 243 school administrators and teachers. Statistics used include frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test statistics (t-test Independent), One-way variance test statistics F-test (One-Way ANOVA).
The results of this research found that: 1) Ethical Leadership of School Administrators in Phatwit Campus under the Office of Roi Et Secondary Educational Service Area overall, it was at a high level. The aspects with the highest average to the lowest were responsibility, followed by trust, honesty, and respect. The aspect with the lowest average was justice, respectively. 2) Comparison of opinion levels towards ethical leadership of school administrators in Phatwit Campus under the Office of Roi Et Secondary Educational Service Area, classified by position, education level, and work experience, overall was no difference. 3) Recommendations: Administrators should be aware of their duties and be willing to perform, demonstrated equality to all subordinates, expressed to all subordinates with equality, equality, showed compassion for others in a polite, friendly without seeking personal gain.
References
พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงพุทธในองค์การทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์. 7(1). 37-45.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). การศึกษาไทย 4.0 ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และ ผลิตภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวดี อินทร์ด้วง. (2561). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 2(3). 13-23.
ศุภลักษณ์ สุพรรณปราการ. (2555). การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สลิลทิพย์ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2564). ข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566. จาก https://secondary27.go.th/
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560- 2564). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุรัตน์ ไชยชมพู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 2(4). 20-21.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Ozan, M., Ozdemir, T., & Yirci, R. (2017). Ethical Leadership Behaviors of School Administrators from Teachers’ Point of View. Journal of Foro de Education. 15(23). 161-183.